ใจเย็นก่อน อย่าเพิ่งดราม่าครับ! ต้องย้ำก่อนเข้าบทความต้องบอกว่า “แฟรงค์ไม่ได้มีเจตนาโทษพี่วินมอไซค์นะครับ” เพียงแต่จะแนะนำหากใครที่เจอกับเคสซ้อนวินมอเตอร์ไซค์แล้วโดนชน หรือโดนพี่วินพาล้มจนกระทั่งบาดเจ็บเท่านั้นนะครับ
“เจอเหตุนั่งวินแล้วล้ม” กรณีนี้เป็นสิ่งที่คนกรุงฯ รู้ไว้ก็ไม่เสียหาย ด้วยถนนกรุงเทพฯ ที่รถติดแสนติด หรือคุณจำเป็นต้องโดยสารวินมอเตอร์ไซค์เดินทางในชีวิตประจำวัน หากคุณนั่งวินแล้วเกิดอุบัติเหตุพี่วินมอเตอร์ไซค์เสียหลักรถล้ม (ด้วยตัวเองแบบไม่มีคู่กรณี) และเราฐานะคนซ้อนก็บาดเจ็บสาหัส เจอเหตุแบบนี้ใครจะดูแลเราละเนี๊ยะ ?
คำตอบ คือ ผู้บาดเจ็บ (คนซ้อน) คุณจะต้องขอเอกสาร พ.ร.บ.จักรยานยนต์ของพี่วินมอเตอร์ไซค์เพื่อใช้เบิกเคลมค่ารักษากับโรงพยาบาลครับ ไม่ว่าคุณจะเจ็บแค่ถลอก เจ็บหนัก แขนหัก ขาหัก หรือศีรษะแตก ฯลฯ ต้องใช้เอกสาร พ.ร.บ.จักรยานยนต์ในการเบิกเคลมนะ
ความคุ้มครองของประกันภาคบังคับ หรือพ.ร.บ.จักรยานยนต์ จะมีความคุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้นตามจริงอยู่แล้ว วงเงินคุ้มครองสูงสุด 3 หมื่นบาท
เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นและมีผู้ได้รับบาดเจ็บแน่นอนว่าต้องรีบพาคนเจ็บส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดใกล้ที่เกิดเหตุที่สุด เพื่อความปลอดภัย ซึ่งค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจะเริ่มจากความคุ้มครองของพ.ร.บ.ก่อน ถ้าค่ารักษาเกินวงเงินถึงจึงจะเคลมจากสิทธิการรักษาอื่น ๆ ตามลำดับ เช่น
บทความที่คุณอาจจะสนใจ : เช็คประกันสังคม ด้วยวิธีการชิลที่สุดในโลก
เมื่อถึงโรงพยาบาลใกล้ที่สุด จะต้องแจ้งเจ้าหน้าโรงพยาบาลว่า เกิดเหตุอะไรขึ้น เกิดเหตุที่ไหน ทะเบียนรถที่เกี่ยวข้องมีหมายเลขใดบ้าง (ในที่นี้คือป้ายทะเบียนจักรยานยนต์รับจ้างหรือวินมอเตอร์ไซค์)
พร้อมกับยื่นหน้าตาราง พ.ร.บ. จักรยานยนต์ แจ้งใช้สิทธิเบิกเคลมรักษาพยาบาลตาม พ.ร.บ.ตามทะเบียนรถมอเตอร์ไซต์ ทุกโรงพยาบาลจะมีแผนกที่ดูแลการเคลม พ.ร.บ. อยู่แล้ว หลังจากนั้นให้เราไปแจ้งความเพื่อลงบันทึกประจำวัน ใช้ประกอบการเคลมที่บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจำกัดภายใน 180 วัน (6 เดือน) นับจากที่เกิดเหตุ (โทร.1791)
กรณีที่ต้องสำรองเงินจ่ายค่ารักษาก่อนให้เตรียมเอกสารใช้ในการเบิกค่าชดเชยที่บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัย ประกอบด้วย
หลังจากทำทุกอย่างครบ ผู้บาดเจ็บจะได้รับเงินค่ารักษาชดเชย ภายใน 7 วันทำการตามที่กฎหมายกำหนดเอาไว้ ซึ่งประกันภาคบังคับหรือพ.ร.บ. จักรยานยนต์ให้ความคุ้มครองเกือบทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็น ทะเบียนรถขาด, ไม่มีใบขับขี่ และเมาสุราด้วย ดังนั้น ผู้โดยสารทั้งหลายอย่าลืมรักษาสิทธิ์ของตัวเองนะครับ หากนั่งวินแล้ววินพาล้มจนบาดเจ็บหนัก ต้องรักษาตัว ต้องใช้พ.ร.บ.จักรยานยนต์ช่วยเคลมรักษาพยาบาลนะ
และหากเจอเหตุวินพาล้ม และพี่วินดึงดันไม่ยอมให้เอกสาร พ.ร.บ.จักรยานยนต์ใช้เบิกค่ารักษาตัว เราสามารถแจ้งความลงบันทึกประจำวันกับเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ครับ แต่ต้องจำป้ายทะเบียน หากจำชื่อได้ยิ่งดีเลยครับ ตรงนี้เจ้าหน้าที่จะเป็นผู้ดำเนินการให้เอง ย้ำว่า แจ้งความกับ สน.ท้องที่เกิดเหตุนะ