หลายคนอาจจะยังสงสัย ว่า พ.ร.บ.รถยนต์ คืออะไร แล้วพ.ร.บ.รถยนต์ (Compulsory Third Party Insurance) หรือประกันรถยนต์ภาคบังคับต่างจากประกันรถยนต์ภาคสมัครใจยังไง หรือเป็นสิ่งเดียวกัน วันนี้ราเลยจะมาสรุปให้อ่านกันอีกรอบว่าเพราะอะไรพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถปี 2535 จึงบังคับให้รถทุกคันที่วิ่งบนท้องถนน จะจดทะเบียนและต่อภาษีรถได้ต้องทำ พ.ร.บ.
ทั้งนี้ พ.ร.บ.รถยนต์ นั้นมีราคาเท่าไหร่ เราใช้ประโยชน์อะไรจาก พ.ร.บ.รถยนต์ได้บ้าง และการไม่ทำจะมีผลอย่างไร รวมถึงการเคลมที่หลายคนอาจจะนึกไม่ออกว่ามีขั้นตอนอะไรบ้าง ซึ่งบอกได้เลยว่าการต่อพ.ร.บ.ตามที่กฎหมายกำหนดนั้นไม่ว่าจะเป็น พ.ร.บ.รถยนต์ และพ.ร.บ.รถมอเตอร์ไซค์ มีประโยชน์ต่อผู้ใช้รถใช้ถนนเอามาก ๆ เลยครับ
พ.ร.บ. คือประกันภัยรถภาคบังคับตามกฎหมาย คือใน พ.ร.บ. ปี 2535 ได้ระบุไว้เลยว่า รถทุกชนิดต้องทำพ.ร.บ.ก่อนจึงจะต่อทะเบียนรถได้ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการต่อพ.ร.บ.รถยนต์ และต่อพ.ร.บ.มอเตอร์ไซค์ เพื่อดูแลความปลอดภัยในชีวิตของเรากันมากขึ้น อันที่จริงแล้วถือเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานที่เราควรจะได้รับการดูแลการรักษาพยาบาลในทุกกรณี เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา ทุกเสี้ยววินาทีมีความสำคัญต่อชีวิตมากเลยครับ
ตามด้วย 2 ข้อดีของการทำพ.ร.บ.รถยนต์ และพ.ร.บ.รถมอเตอร์ไซค์ มีไว้พื่อดูแลค่ารักษาพยาบาลของทั้งคนที่อยู่ในรถคันที่เกิดอุบัติเหตุทั้งฝ่ายผิดและฝ่ายถูกหรือเราเป็นบุคคลที่ 3 ก็ตาม สิทธิพ.ร.บ.รถที่ต้องรู้ไว้ คือ
ไม่ต้องรอพิสูจน์ว่าใครผิดใครถูกที่เราจะได้รับเงินชดเชยตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
สรุป เบิกพ.ร.บ.ค่าเสียหายเบื้องต้นโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ว่าใครผิดถูก รวมแล้วไม่เกิน 65,000 บาท/คน (ข้อมูลอัพเดตวันที่ 1 เมษายน 2563)
คือ เงินชดเชยที่จะได้รับจากพ.ร.บ.หลังการพิสูจน์ผิดถูกแล้ว และเป็นฝ่ายถูกเท่านั้นจะได้รับ
สรุป จ่ายค่าสินไหมทดแทนเมื่อเป็นฝ่ายถูก รวมแล้วไม่เกิน 504,000 บาท/คน (ข้อมูลอัพเดตวันที่ 1 เมษายน 2563)
ผู้ได้รับบาดเจ็บจะได้รับการดูแลตามประกันของรถแต่ละคันอยู่แล้ว แต่ถ้ามีบุคคลที่ 3 เข้ามาเกี่ยวข้องให้แต่ละบริษัทร่วมกันจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้กับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บครับ
ก็จะมีความผิดตามกฎหมายจราจรและโดนค่าปรับไม่เกิน 10,000 บาทครับ แน่นอนว่ารถคันนั้นก็จะไม่ได้ต่อทะเบียนรถยนต์ประจำปีโดนปรับ 400-1,000 บาทครับ
บริษัทกลางประกันภัยเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวกลางในการเบิกจ่ายค่าสินไหมต่างๆ ตาม พ.ร.บ.รถยนต์ตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา และมีสาขาอยู่ทั่วประเทศไทยเพื่อความสะดวกในการติดต่อของประชาชนทั่วประเทศ ส่วนในปี 2542 เป็นต้นมาก็สามารถรับประกันภัยเฉพาะรถมอเตอร์ไซค์ได้ รวมถึงเป็นสำนักงานประกันภัยรถผ่านแดนแห่งชาติในกรณีที่รถทะเบียนต่างประเทศต้องการนำมาขับขี่ในประเทศไทยด้วย (Thai National Bureau of Insurance)
เข้าเรื่องขั้นตอนการเคลม พ.ร.บ.รถยนต์ เมื่อเราเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลให้แจ้งสิทธิ์ที่เราต้องการใช้ ในกรณีที่สำรองจ่ายไปก่อนให้ติดต่อที่บริษัทกลางประกันภัย ซึ่งจะต้องเตรียมเอกสารต่างๆ ดังต่อไปนี้
แล้วติดต่อที่บริษัทกลางประกันภัยโดยเราจะได้รับเงินชดเชยตามสิทธิ์ภายใน 7 วันทำการ เมื่อยื่นเอกสารให้ครบถ้วนกรณีถ้าค่ารักษาเกินวงเงินก็จะมีการหักค่าใช้จ่ายจากสิทธิอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น สิทธิประกันสังคม สิทธิ 30 บาทรักษาทุกโรค, สิทธิบัตรทอง หรือแม้แต่ประกันสุขภาพและประกันชีวิตตามลำดับที่เราแจ้งครับ อย่าลืมว่าระยะเวลาในการขอใช้สิทธิ์ พ.ร.บ.ของเรา ภายใน 180 วันหลังจากวันที่เกิดเหตุ นะครับ
แต่ถ้าเราโดนชนแล้วหนี ก็สามารถติดต่อรับความช่วยเหลือได้จากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยอ่านเพิ่มได้จากบทความก่อนหน้าได้เลย
อย่างที่บอกนะครับ ประโยชน์หลักของการทำ พ.ร.บ.รถยนต์หรือประกันรถยนต์ภาคบังคับนั้น คือการดูแลค่ารักษาพยาบาลคนเจ็บเมื่อเกิดเหตุทันที ทำให้เราเห็นความสำคัญของการต่อพ.ร.บ.รถยนต์ และการต่อพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์มากขึ้น ว่าเป็นการจ่ายเงินเพื่อซื้อความปลอดภัยในอนาคต หรือเป็นการเฉลี่ยความเสี่ยงภัยซึ่งถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการลงทุนเพื่อความปลอดภัยด้วยครับ ซึ่งระบบของเราก็มี วิธีการต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ ที่รวดเร็ว สะดวก รับความคุ้มครองทันที!