ชีวิตชาวฟรีแลนซ์!! แน่นอนว่า เราต้องเจอกับนายจ้างมากหน้าหลายตา และไม่มีใครมาดูแลเรื่องยื่นภาษี หรือทำเอกสารลดหย่อนภาษีให้เราเหมือนเป็นมนุษย์เงินเดือนแน่ ๆ อ่ะ ! สำหรับฟรีแลนซ์มือใหม่ที่เพิ่งเข้าวงการ และไม่รู้ว่าต้องเสียภาษีฟรีแลนซ์ยังไงดีหนอ แฟรงค์ขอแนะนำตามนี้ครับ !!
ส่วนใหญ่จะมีการหักภาษีเงินได้ 2 รูปแบบ ได้แก่
เฮโล่วพี่จ๋า ใบทวิ 50 สำหรับฟรีแลนซ์คืออะไร ? ฉันไม่รู้จัก (555+) ใจเย็นครับ แฟรงค์ขอหยิบข้อมูลจากกรมสรรพากร ระบุว่า ใบทวิ 50 หรือหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย บางครั้งถูกเรียกว่า “ใบรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย (50 ทวิ)” เป็นเอกสารสำคัญที่ฟรีแลนซ์หรือผู้ทำอาชีพอิสระจะต้องขอจากนายจ้างเองนะครับ หากนายจ้างหักภาษีเราต้องตามเอกสารนี้ด้วยนะ ไม่เหมือนการเป็นมนุษย์เงินเดือนที่ฝ่ายบุคคลทำให้ล่ะ
กรณีที่เรารับทำงานฟรีแลนซ์ ผู้ว่าจ้างอาจจะขอหักภาษี ณ ที่จ่ายทันทีหลังจากจ่ายเงิน เช่น ค่าจ้าง 1,000 บาทหัก 3% หมายความว่า เราจะมีเงินเหลือเข้ากระเป๋า 970 บาท หักเป็นเงินภาษี 30 บาท
หรือถ้าเงินรายรับจำนวนมากแนะนำสอบถามสรรพากรใกล้คุณจะดีที่สุด เพราะอาจจะตีความเป็นรายได้มาตรา 40(2) หรือ 40(8)
โดยคนไทยที่มีรายได้ทุกคนจะต้องใช้เพื่อยื่นภาษีเงินได้บุคคลประจำปี (ภงด 91) ล่ะครับ ดังนั้น ย้ำอีกรอบว่า ฟรีแลนซ์ห้ามลืมขอใบทวิ 50 นะจ้ะ รักษาสิทธิตัวเองให้ดี ต้องเก็บให้ดีทุกฉบับ อย่าให้ตกหล่น !! เพราะอาจจะโดนภาษีย้อนหลัง จะบอกว่า หลังอานเลยนะครับ ฮรื้อออ
ไม่มีทางเลือกอื่นเลยครับ นอกจาก "กลับไปขอใบทวิ 50 (ใบหักภาษี ณ ที่จ่าย) จากผู้ว่าจ้างอีกครั้ง" เพราะถ้าเราไม่ยื่น ระวังงานจะเข้า !!
นอกจาก ใบทวิ 50 สำหรับฟรีแลนซ์ที่ต้องเตรียม ยังมีเอกสารอื่น ๆ หลักฐานที่ใช้ลดหย่อนร่วมครับ เช่น ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ (ต้องแจ้งขอเอกสารกับบริษัทฯ หรือตัวแทนก่อนยื่น) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุน RMF/LMF ค่าลดหย่อนเพื่อการบริจาค และค่าลดหย่อนพิเศษปีภาษีแต่ละปี ฯลฯ
เมื่อฟรีแลนซ์ไม่ฟรีภาษี เอาเป็นว่าทำประกันสุขภาพ และประกันชีวิตไว้ลดหย่อนภาษีและดูแลคุ้มครองคุณเถอะครับ ดีที่สู๊ดล่ะ
FYI : อ้างอิงข้อมูลภาษีเงินได้จากกรมสรรพากร ระบุว่า
ขอบคุณข้อมูล rd.go.th, wealthmeup.com, set.or.th
Content by Butter Cutter
Artwork by Kamonwan Wongchai