Bolttech Insurance Broker
LinePhone

อาการช็อค และวิธีการทำ CPR ช่วยเหลือ

อาการช็อค เป็นภาวะของการไหลเวียนเลือดลดลงผิดปกติ  ทำให้เลือดไปสูบฉีดเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ไม่เพียงพอ ทำให้รู้สึกหายใจไม่ออก หมดแรง หน้ามืด ตาลาย เวียนหัว บางรายถึงขั้นวูบหมดสติและเสียชีวิตได้ ยิ่งคนที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตต่ำ โรคหลอดเลือดสมอง เสี่ยงเกิดภาวะอาการช็อคได้ง่าย เราต้องรู้จักป้องกันและดูแลตัวเองตั้งแต่อายุน้อยๆ

อาการช็อค อาการวูบเกิดจากอะไร? 

อาการวูบเกิดจากอะไร

ภาวะช็อก คือ ภาวะที่เนื้อเยื่อของร่างกายมีการขาดออกซิเจน (Tissue hypoxia) สามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ ได้แก่

1. ปริมาณน้ำหรือเลือดในร่างกายไม่เพียงพอ

คือ ภาวะที่ร่างกายสูญเสียน้ำหรือเลือดในร่างกายมากเกินไป เช่น การสูญเสียสารน้ำจาก การอาเจียน ถ่ายเหลว การสูญเสียเลือดเมื่อเกิดอุบัติเหตุ หรือเป็นโรคลมแดด 

2. ภาวะติดเชื้อรุนแรงในกระแสโลหิต

ความดันโลหิตต่ำลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เลือดไหลเวียนน้อยลง และทำให้ระบบอวัยวะต่างๆ ล้มเหลว อาจเสียชีวิตได้ 

3. ภาวะช็อคจากโรคหัวใจ

เป็นอาการช็อกที่เกิดจากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจทำงานล้มเหลวจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างรุนแรง 

4. ภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน (Anaphylaxis) 

เกิดจากที่ร่างกายได้รับสารกระตุ้นบาอย่าง และบางคนมีระบบภูมิต้านทานต่อสารกระตุ้นผิดปกติ เช่น แพ้อาหารหรือยาบางชนิด ถั่ว อาหารทะเล แมลงกัดต่อย หรือสารต่างๆ   

อาการช็อค เสี่ยงเป็นมากที่สุด 

  • อาการกระสับกระส่าย ครั่นเนื้อครั่นตัว 
  • หายใจไม่ออก หายใจเร็ว เนื่องจากระบบหายใจทำงานผิดปกติ 
  • เนื้อตัวเย็น หน้าซีด ปากซีด 
  • เหงื่อออกมากกว่าปกติ แต่ไม่มีอาการชาตามร่างกาย 
  • หน้ามืด ตาลาย อ่อนแรง 
  • เวียนหัว เริ่มมีอาการทรงตัวไม่อยู่ 
  • ตาดำไม่เคลื่อนไหว หรือเกิดอาการตาค้าง ตาเบลอ 
  • มีอาการเจ็บหน้าอก แน่นบริเวณหน้าอก 
  • ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ หรือไม่ปัสสาวะนาน 4-6 ชั่วโมง 
  • ไม่รู้สึกตัว หมดสติ 

วิธีปฐมพยาบาล ทำ CPR ที่ถูกต้อง

กรณีที่ผู้ที่ป่วยเกิดอาการช็อค ให้รีบปฐมพยาบาลและนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด แต่ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจ ไม่รู้สึกตัว ควรช่วยเหลือด้วยการทำ CPR (Cardiopulmonary resuscitation) เพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยรอดชีวิต หากช้าเกินไปอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ 

1. สังเกต

อาการช็อค ทำ CPR

หากพบผู้ป่วยหมดสตินอนอยู่ อย่าเพิ่งตกใจให้ประเมินความปลอดภัยของสถานที่เกิดเหตุก่อนอันดับแรก เช่น สายไฟฟ้า แหล่งน้ำ หรือมีรถสัญจรผ่านไปมาหรือไม่

2. ปลุก

อาการช็อค ทำ CPR

ต่อมาให้ปลุกผู้หมดสติด้วยการตบไหล่ทั้งสองข้าง และเรียกเสียงดังๆ พร้อมรายงานตัวว่าคุณได้เข้ามาช่วยเหลือ หากไม่รู้สึกตัวให้ตรวจดูลมหายใจของผู้ที่หมดสติ หากผู้ป่วยรู้สึกตัวและหายใจเองได้ ให้จับตัวผู้ป่วยอยู่ในท่าตะแคงนอน จะช่วยให้ผู้ป่วยหายใจสะดวกมากกว่า 

3. โทร

อาการช็อค ทำ CPR

จากนั้นให้รีบโทรขอความช่วยเหลือที่สายด่วน 1669 หรือเบอร์โรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่เกิดเหตุ ให้คุณระบุอาการของผู้ป่วย สถานที่เกิดเหตุ และเบอร์ติดต่อของผู้แจ้ง เพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับเมื่อเดินทางไปถึงที่เกิดเหตุ ทั้งนี้ให้คุณคอยฟังเสียงโทรศัพท์จากเจ้าหน้าที่ให้ดี 

4. ช่วยเหลือกรณีผู้ป่วยหายใจ

อาการช็อค ทำ CPR

กรณีผู้ป่วยอยู่ในภาวะช็อค แต่ยังไม่หมดสติ ควรช่วยเหลือด้วยการใช้ผู้ป่วยนอนหงายราบกับพื้น ยกขาให้สูงขึ้นจากพื้นประมาณ 12 นิ้ว เพื่อให้เลือดไหลเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญ หากสวมใส่เสื้อผ้าแน่นเกินไปควรคลายเสื้อผ้าให้หลวม แล้วห่มผ้าห่ม รักษาอุณหภูมิร่างกายให้อบอุ่น พยายามให้ผู้หมดสติอยู่ในที่มีอากาศถ่ายเท จากนั้นให้เจ้าหน้าที่นำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล 

ข้อควรระวัง: กรณีที่ผู้ป่วยอยู่ในอาการช็อค ไม่ควรให้ยา น้ำ หรืออาหาร เพราะอาจเกิดการสำลักอุดทางเดินอาหาร ถึงแม้ผู้ป่วยจะดูกระหายน้ำมากก็ตาม อาจเพียงแตะๆ น้ำบริเวณริมฝีปาก

5. ทำ CPR (กรณีผู้ป่วยหยุดหายใจ)

อาการช็อค ทำ CPR

แต่ถ้าผู้ป่วยหมดสติ แล้วเจ้าหน้าที่ยังไม่ถึงที่เกิดเหตุ เราจำเป็นต้องช่วยด้วยการทำ CPR เพิ่มโอกาสรอดชีวิตขงผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้นได้ โดยวิธีการทำ CPR หรือปั๊มหัวใจที่ถูกต้อง คือ  

  • ให้คุกเข่าบริเวณข้างลำตัวผู้ป่วยในระดับไหล่ 
  • จัดท่าผู้ป่วยนอนหงายเพื่อเปิดทางเดินหายใจโดยการ ดันหน้าผาก - ดึงคางขึ้น 
  • ตรวจสอบว่าผู้ป่วยหายใจหรือไม่ 
  • ให้เริ่มช่วย CPR ด้วยการกดหน้าอก โดยวางสันมือข้างที่ถนัดตรงครึ่งล่างกระดูกหน้าอก และวางมืออีกข้างทับประสานกันไว้ 
  • ศอกตั้งตรง แล้วกดหน้าอกด้วยความลึกอย่างน้อย 5 เซนติเมตร ด้วยอัตราเร็ว 100 - 120 ครั้งต่อนาที 
  • ส่งตัวผู้ป่วยให้กับทีมกู้ชีพ เพื่อนำตัวส่งโรงพยาบาล

การเรียนรู้วิธีปฐมพยาบาล และทำ CPR ที่ถูกต้อง คุณอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บได้รอดชีวิต สิ่งสำคัญคุณต้องรีบโทร 1669 หรือติดต่อโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด  เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้ามาช่วยเหลือทันเวลา

เพราะอุบัติเหตุอยู่ใกล้ตัวคุณ ซื้อประกันอุบัติเหตุออนไลน์ ไม่ต้องกังวลค่ารักษาเมื่อถูกส่งรพ. คุ้มครองทันทีเมื่อเกิดอุบัติเหตุ แผลเล็กแผลใหญ่พร้อมดูแล บางแผนมีเงินชดเชยรายได้ เบี้ยเริ่มเพียง 850 บาทต่อปี สนใจเข้ามาเทียบแผนประกันได้ ซื้อง่าย รวดเร็ว ตรงใจ

ประกันอุบัติเหตุ

 

Sleeping Blogger

Content Writer ผู้ที่รักงานเขียนเป็นชีวิตจิตใจ ชอบเล่าเรื่อง แชร์ความรู้ใหม่ๆ หรือไอเดียง่ายๆ ที่เป็นสไตล์ของตัวเอง อยากให้เพื่อนๆ สนุกไปด้วยกัน!

เชื่อมต่อ กับพวกเรา

รับข่าวสารล่าสุดและข้อเสนอโดยติดตามเราในช่องโปรดของคุณ
LineFacebook
Bolttech
บริษัท โบลท์เทค อินชัวร์นส์ โบรคเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
ใบอนุญาตินายหน้าประกันภัยหมายเลข
00017/2559
หมายเลขจดทะเบียนนิติบุคคล
0105559056161
รับรองความปลอดภัย และ อยู่ภายใต้ความควบคุม ของ
GeoTrustDBDOffice of Insurance Commission
Security & Compliances
GeoTrustDBDOffice of Insurance Commission
bolttech © 2021 All Rights Reserved.