หลายๆ คนคิดว่า อาการโรคพิษสุนัขบ้า มักพบได้ในเฉพาะหน้าร้อนเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วโรคพิษสุนัขบ้าเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาทั้งน้องหมาน้องแมว แล้วที่สำคัญยังสามารถติดต่อมาสู่คนด้วย เราจะต้องรู้จักหัดสังเกตอาการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าในแมว และสุนัข ถ้ามีอาการตามนี้ให้รีบพบแพทย์ทันที
โรคพิษสุนัขบ้า หรือเรียกกันว่า โรคกลัวน้ำ เป็นโรคที่ติดต่อทางน้ำลายของแมวหรือสุนัข หากโดนกัดของสัตว์ที่มีอาการโรคพิษสุนัขบ้า เชื้อไวรัสเหล่านี้ก็จะเริ่มถูกขับออกมาจากทางน้ำลายและเข้าสู่ร่างกายของสัตว์ผ่านทางบาดแผล ไม่ว่าจะเป็นบริเวณผิวหนัง บริเวณปาก ตา และจมูก เป็นต้น
อย่างไรก็ตามโรคพิษสุนัขบ้า จะมีระยะฝักตัวของโรคแตกต่างกันไป โดยปกติโรคพิษสุนัขบ้าในแมวหรือสุนัขที่โตเต็มวัยจะมีความต้านทานต่อการติดโรคสูงกว่า และระยะฟักตัวของโรคมักจะยาวนานกว่า แต่อย่างไรก็ตามก็ขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานของสัตว์เลี้ยงแต่ละตัว ซึ่งอาการพิษสุนัขบ้าที่พบบ่อยในสัตว์เลี้ยง จะมีอาการดังนี้
ในช่วงระยะเเรกสัตว์เลี้ยงจะมี อาการกล้ามเนื้อสั่น ครั่นเนื้อครั่นตัว เหมือนรู้สึกไม่สบายตัว และสัตว์เลี้ยงบางตัวก็จะพบแผลตกสะเก็ด พบรอยขีดข่วนตามร่างกายจากการถูกกัดหรือข่วน และขนขี้ฟู เป็นต้น
*ระยะฟักตัวของเชื้อพิษสุนัขบ้าอาจจะแสดงอาการตั้งแต่ตอนกัดจนถึง 12 เดือน ถึงแม้จะไม่พบร่องรอยบาดแผล ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ได้เป็นโรคพิษสุนัขบ้า
อาการของโรคพิษสุนัขบ้า หลังจากการติดเชื้อในระยะที่ไม่รุนแรง สัตว์เลี้ยงจะมีอาการคล้ายๆ ไข้หวัดใหญ่ เป็นไข้ประมาณ 2-3 วัน หรือมีอาการซึมๆ เหนื่อยง่ายกว่าปกติ ถ้าเราสังเกตเห็น อาการแมวป่วย หรือ อาการหมาป่วย ไม่ว่าจะรุนแรงหรือไม่ เราควรพาไปพบแพทย์ทันที
เมื่อเข้าสู่ในระยะต่อมาของอาการโรคพิษสุนัขบ้า หรือเรียกกันว่าโรคพิษสุนัขบ้าแบบดุร้าย สัตว์เลี้ยงของคุณจะมีพฤติกรรมก้าวร้าวเปลี่ยนไปอย่างชัดเจน ยกตัวอย่าง
กรณีที่พบว่าสัตว์เลี้ยงมีอาการหงุดหงิดง่าย และคล้าย อาการหมาบ้า จะต้องระวังการสัมผัสกับสัตว์โดยตรง อย่าให้สุนัขหรือแมวกัด แล้วให้แยกใส่กรงนำส่งโรงพยาบาลสัตว์ทันที
นอกจากนี้น้องหมาน้องแมวก็มีพฤติกรรมการกินอาหารที่เปลี่ยนไป คือ ไม่ยอมทานอาหาร รู้สึกเบื่ออาหาร หรือ กลืนอาหารลำบาก ถึงแม้จะเป็นอาหารจานโปรดของเขาก็ตาม สัตว์เลี้ยงของคุณก็ยังไม่สนใจ นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนโรคพิษสุนัขบ้าก็ได้ เราจะต้องสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด
หากคุณสังเกตว่า น้องแมวหรือน้องหมา มีน้ำลายไหลตลอดเวลา หรือน้ำลายฟูมปาก อาจบ่งบอกถึงอาการพิษสุนัขบ้าอีกด้วย โดยจะพบบ่อยในสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าแบบดุร้าย เพราะเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายไปจนถึงเส้นประสาทส่วนกลาง กระดูกสันหลังและสมองไปแล้ว จากนั้นเชื้อโรคจะลามไปยังต่อมน้ำลาย ซึ่งเตรียมที่จะพ่นน้ำลายใส่เหยื่อรายอื่น
ดังนั้น ถ้าเราพบเห็นสัตว์ที่มีอาการของโรคพิษสุนัขบ้า ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันที เพื่อจะได้นำสัตว์ที่ป่วยไปรักษาตัว หรือฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
ถ้าสัตว์เลี้ยงป่วยเป็นโรคพิษสุนัขบ้าจะมี อาการคล้ายกับโรคกลัวน้ำ คือ รู้สึกอยากดื่มน้ำแต่กลืนไม่ได้ ทำให้มีอาการกลัวน้ำ แล้วรู้สึกตื่นกลัวน้ำทุกครั้งเวลาที่จะอาบน้ำ เราควรพาไปพบแพทย์เพื่อประเมินอาการโดยเร็วที่สุด
อีกหนึ่งอาการโรคพิษสุนัขบ้า ก็คือน้องหมาน้องแมวจะมีการ ทรงตัวผิดปกติ เดินเซ กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง บางครั้งก็กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ระยะสุดท้ายจะเป็นอัมพาต อาจจะเริ่มไปทีละส่วนของร่างกายจนอัมพาตทั้งลำตัว หากรักษาไม่ทันเวลาอาจทำให้สัตว์เลี้ยงเสียชีวิตได้
เพราะฉะนั้นเพื่อนๆ อย่ามองข้ามสิ่งเหล่านี้ไป เราควรพาน้องๆ ไปฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า อย่างน้อยๆ สามารถช่วยลดโอกาสการเกิดโรคพิษสุนัขบ้า และลดโอกาสการเสียชีวิตได้ ป้องกันไว้ก่อนเพื่อความสบายใจ