ยุง เป็นสัตว์จำพวกแมลงที่พบได้ทั่วโลก และมีปริมาณมากที่สุด ถึงยุงจะเป็นแมลงตัวเล็กๆ แต่ความน่ากลัวของมันทำอันตรายได้ถึงชีวิตเลย แล้วในทุกๆ ปีมากกว่า 1 ล้านคนทั่วโลก มีคนจำนวนมากที่เจ็บป่วยด้วยโรคจากยุง โดยเฉพาะในประเทศไทยที่มีอากาศร้อนชื้น เวลาฝนตกเหมาะกับการแพร่พันธุ์ยุงได้ง่าย แล้วสามารถนำเชื้อไวรัสมาสู่คนที่โดนยุงกัดด้วย หากไม่รู้จักป้องกันก็มีโอกาสเจ็บป่วยได้สูง
สายพันธุ์ยุงที่พบทั่วไปในประเทศไทย มีมากกว่า 400 สายพันธุ์ แต่ยุงที่เป็นพาหะนำโรคที่รู้จักกัน มีทั้งหมด 4 สายพันธุ์ ได้แก่
รู้จักกับโรคจากยุง สาเหตุ อาการของโรค ทั้งระยะเริ่มต้น ระยะฟักตัว จนถึงระยะรุนแรง มีอะไรบ้าง มาดูกันเลย...
หลายคนคงรู้จักอย่างดี โรคไข้เลือดออก หรือ โรคติดเชื้อไวรัสเดงกี โรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะสำคัญ สามารถติดต่อกันผ่านยุงลายบ้าน แล้วในบางพื้นที่จะมียุงลายสวนเป็นแมลงนำโรคร่วมกับยุงลายบ้าน
หากยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดของผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสเดงกี เชื้อไวรัสชนิดนี้จะเข้าสู่กระเพาะยุง แล้วเข้าสู่ต่อมน้ำลายของยุง พร้อมที่จะนำเชื้อไวรัสกัดคนต่อไป หลังจากนั้นยุงที่มีเชื้อไวรัสเดงกีจะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัด จะทำให้คนนั้นป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก
แต่ในรายที่รุนแรงจะอาเจียนมาก ปวดท้องรุนแรง ความดันโลหิตต่ำ เลือดออกตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย จนเกิดภาวะช็อก และเสียชีวิตได้หากรักษาไม่ทัน
ชิคุนกุนยา เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา โดยมียุงลายสวนและยุงลายบ้านเป็นพาหะนำโรค และมักพบได้บ่อยในช่วงฤดูฝน บริเวณที่มีน้ำท่วมขัง หรือบริเวณที่มีต้นไม้หนาแน่น โรคชิคุนกุนยา มีระยะฟักตัวของโรคประมาณ 3 - 7 วันหลังจากโดนยุงที่มีเชื้อกัด นอกจากนี้คุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นโรคชิคุนกุนยา ยังสามารถถ่ายทอดไปยังทารกได้เช่นกัน
อีกหนึ่งโรคที่มาจากยุง มียุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรค มักพบในบริเวณป่าและชายแดน หรือในเขตที่มีอากาศร้อนชื้นตามธรรมชาติ สาเหตุเริ่มจากยุงก้นปล่องตัวเมียดูดเลือดผู้ป่วยที่เป็นไข้มาลาเรีย (Malaria) จากนั้นเชื้อมาลาเรียจะใช้เวลาฟักตัวในยุงประมาณ 10-12 วัน จนอยู่ในระยะที่ทำให้เกิดโรค แล้วยุงตัวนี้จะปล่อยเชื้อจากต่อมน้ำลายไปกัดคน ทำให้คนที่ถูกยุงกัดป่วยเป็นไข้มาลาเรีย ซึ่งอาการเริ่มแรกของไข้มาลาเรียเกิดขึ้นหลังจากโดนยุงก้นปล่องกัด ประมาณ 10-14 วัน
ทั่วไปมีอาการเป็นไข้ ปวดศีรษะ แต่ไม่มีน้ำมูก ปวดเมื่อยตามตัว แต่สักระยะหนึ่งผู้ป่วยจะแสดงอาการได้ชัดเจน แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่
หลังจากระยะเหงื่อออก ร่างกายจะอ่อนเพลียและหายไข้ แต่ถ้าผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อน ก็อาจกลับมาเป็นไข้เหมือนเดิม
โรคไข้สมองอักเสบเจ อี เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มียุงรำคาญเป็นพาหะนำโรค และเพาะพันธุ์ในแหล่งน้ำนิ่ง ตามปกติแล้วยุงรำคาญ มักจะชอบเพาะพันธุ์ในท้องนาที่มีน้ำขัง โดยมีหมูเป็นรังโรคที่สำคัญ หากยุงไปกัดหมูที่ติดเชื้อจีอี เชื้อจะเข้าไปเพิ่มจำนวนในยุง และยุงตัวนี้สามารถแพร่กระจายเชื้อให้กับคนที่โดนยุงกัดต่อไป มีระยะฟักตัวของโรคประมาณ 1 - 2 สัปดาห์หลังจากถูกยุงที่มีเชื้อกัด
บางรายอาจมีอาการเกร็งชักกระตุก หายใจไม่สม่ำเสมอ และมีอาการทางระบบประสาท เช่น ต้นคอแข็ง ซึม เพ้อ ชัก หมดสติ และเป็นอัมพาตในที่สุด เพราะเชื้อไวรัสสามารถทำให้สมองอักเสบ มีโอกาสสมองพิการ และเสียชีวิตได้
ถึงเราจะโดนยุงกัดเพียงแค่ครั้งเดียว! ก็อาจเป็นโรคจากยุงได้เช่นกัน ดังนั้นเราจะต้องรู้จักดูแลตัวเองให้ดี ป้องกันโรคไข้เลือดออก และโรคอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น ด้วยการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเป็นสิ่งสำคัญ เพราะยุงมักชอบอาศัยอยู่จามแหล่งน้ำนิ่ง น้ำขัง หากเราป้องกันก็จะป้องกันไม่ให้ตัวเราเจ็บป่วย รวมถึงสมาชิกทุกคนในบ้าน
เพราะโรคภัยไข้เจ็บเป็นเรื่องใกล้ตัว ทำประกันสุขภาพวันนี้ ไม่ต้องกังวลอีกต่อไป คุ้มครองค่ารักษากรณีเจ็บป่วย (โรคทั่วไปจะมีระยะเวลารอคอย 30 วัน) ครอบคลุมตั้งแต่โรคเล็กน้อยไปจนถึงโรคร้ายแรง ซึ่งโรงพยาบาลในเครือบางแห่งก็ไม่ต้องสำรองจ่าย สามารถเบิกค่ารักษาได้เลย เจ็บป่วยแค่ไหนคุณก็อุ่นใจ