กระดูกหัก (Bone Fracture) มักเกิดขึ้นได้บ่อยจากอุบัติเหตุที่รุนแรง อย่างเช่น หกล้ม ตกบันได โดนรถชน เป็นต้น ส่งผลให้กระดูกได้รับแรงกระแทก ทำให้กระดูกหักได้ง่าย เพราะกระดูกเป็นส่วนประกอบที่สำคัญมากของร่างกายที่ช่วยในการเคลื่อนไหว ถึงจะไม่ร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต แต่หากไม่รีบทำการรักษาก็อาจเป็นอันตรายถึงขั้นพิการได้
โดยทั่วไปแล้ว กระดูกหักแบ่งได้ 2 ประเภท คือ กระดูกหักชนิดไม่มีแผล (Closed Fracture) และ กระดูกหักแบบแผลเปิด (Open หรือ Compound Fracture)
กระดูก เป็นอวัยวะที่เเข็งแรงภายในร่างกาย ทำหน้าที่ในการเคลื่อนไหวของร่างกาย แต่ถ้ากระดูกได้รับแรงกระแทกรุนแรง อาจทำให้กระดูกหัก กระดูกแตก แขกหัก ขาหัก ไหปลาร้าหัก เป็นต้น ล้วนเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด เช่น
นอกจากอุบัติเหตุที่เกิดจากแรงกระแทก ส่งผลให้กระดูกแตกหักแล้ว หากป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนหรือมะเร็งบางชนิด ก็อาจทำให้กระดูกเสื่อมหรือหักได้ง่ายเช่นกัน
ในขณะที่เกิดอุบัติเหตุจนกระดูกหักขึ้นมา เช่น แขนหัก ขาหัก และไม่อยู่ในระดับที่รุนแรงมากนัก สามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ มาอ่าน วิธีปฐมพยาบาลกรณีกระดูกหัก ได้ที่นี่
แต่ถ้าคุณจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาจากแพทย์ ทางแพทย์จะเป็นผู้เช็กอาการ เอกซเรย์ตำแหน่งของกระดูกหัก โดยทำการรักษากระดูกหัก ทั้งหมด 2 รูปแบบ ดังต่อไปนี้
เป็นวิธีเข้าเฝือก ด้วยการจัดเรียงแนวกระดูกที่ได้รับบาดเจ็บให้กลับมาอยู่ในตำแหน่งที่ปกติ จากนั้นค่อยใส่เฝือกให้ช่วยพยุงกระดูกที่หัก ไม่ให้บริเวณนั้นได้รับการเคลื่อนไหว มักเข้าเฝือกกระดูกส่วนแขนหรือขาท่อนล่างมากที่สุด ส่วนกระดูกหักที่ไม่สามารถเข้าเฝือกได้ในทันทีเช่น กระดูกไหปลาร้าหัก แพทย์จะใช้อุปกรณ์คล้องแขนช่วยพยุงแขนแทน และฟื้นฟูกระดูกให้เร็วที่สุด
กระดูกหัก ไม่ใส่เฝือก ถึงขั้นรุนแรงทำให้ผิวหนังได้รับบาดเจ็บด้วย อาจจะต้องเข้ารับการผ่าตัด ใส่หมุด แผ่นเหล็ก สกรูหรือกาว ที่ช่วยให้กระดูกยึดเข้าไว้ด้วยกัน หลังจากนั้นแพทย์จึงให้ใส่เฝือก หาอุปกรณ์ต่างๆ มาช่วยดามบริเวณที่กระดูกหัก เป็นต้น
ในช่วงระหว่างการพักฟื้น หากผู้ได้รับบาดเจ็บมีอาการเจ็บปวด ปวดร้าวกระดูก สามารถทายาแก้ปวดเพื่อลดอาการแก้ปวดได้ โดยเป็นไปตามดุลพินิจของแพทย์เท่านั้น
หลังจากแพทย์เริ่มให้ถอดเฝือก หรืออุปกรณ์ที่ช่วยดามกระดูก ในช่วงแรกผู้ได้รับบาดเจ็บอาจเกิดอาการข้อติดเเข็ง บวม มีเนื้อปูดอยู่ แต่อาการเหล่านี้จะดีขึ้นภายใน 2-3 สัปดาห์ กระดูกหักจะใช้เวลาฟื้นตัวประมาณ 4-6 สัปดาห์ก่อนที่จะกลับมาแข็งแรง
ผู้ได้รับบาดเจ็บควรทำความสะอาดบริเวณนั้นเบาๆ ด้วยสบู่หรืออาจทาครีมโลชั่นเพื่อให้ผิวหนังชุ่มชื่น พยายามไม่ใช้งานอวัยวะส่วนนั้นเต็มที่จนกว่ากล้ามเนื้อจะเเข็งแรง แต่ถ้ารู้สึกมีอาการปวดกระดูก บวม แนะนำให้หาคุณหมอเพื่อเช็กอาการอีกครั้ง
เจ็บหนักแค่ไหน ประกันอุบัติเหตุ ก็ช่วยได้ คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ ชดเชยรายได้รายวันระหว่างรักษาตัว ครอบคลุมอุบัติเหตุจากการขับขี่หรือซ้อนรถมอเตอร์ไซค์ เบี้ยเริ่มเพียง 850 บาท/ปี เท่านั้น!