Bolttech Insurance Broker
LinePhone

ใบสั่งส่งถึงบ้าน ถ้าไม่จ่าย จะต่อทะเบียนได้หรือไม่?

จะทำอย่างไรดี ? โดนใบสั่งพร้อมแนบรูปหลักฐานส่งตรงมาถึงหน้าประตูบ้าน หากเกิดเหตุการณ์แบบนี้หลายคนอาจสงสัยว่าถ้าทำตัวเพิกเฉยไม่ไปเสียค่าปรับจะสามารถต่อทะเบียนกับกรมขนส่งได้หรือไม่ รวมถึงจะมีผลเสียอะไรตามมาบ้าง Frank จะขออาสามาไขคำตอบให้กระจ่างดังนี้ครับ

ค้างค่าปรับใบสั่ง ยังต่อทะเบียนรถได้แน่นอน

อันนี้ Frank มาขอยืนยันชัวร์ ๆ 100 เปอร์เซ็นต์เลยครับ ว่าเราสามารถต่อทะเบียนได้ เพราะทางกรมขนส่งทางบกได้ออกมายืนยันเรื่องนี้เองโดยตรง โดยชี้แจงเหตุผลว่าการให้บริการต่อทะเบียนรถยนต์เป็นงานของกรมขนส่ง แต่ทั้งนี้ผู้ที่ค้างค่าปรับตามใบสั่งอยู่ จะได้รับเพียงหลักฐานแสดงการเสียภาษีประจำปีชั่วคราวที่มีอายุ 30 วัน หากจ่ายค่าปรับแล้วจะต้องนำใบเสร็จมาแสดงเพื่อรับเครื่องหมายตัวจริงหรือที่เราเรียกกันติดปากว่าป้ายภาษี หรือป้ายวงกลมนั่นเองครับ (แม้หน้าตาตอนนี้จะเป็นสี่เหลี่ยมก็เถอะ) แต่สำหรับใครที่ทำป้ายภาษีหาย ก็สามารถทำเรื่องขอป้ายภาษีใหม่กับทางขนส่งเลยนะครับ กรณีนี้หากค้างค่าปรับมาก็ทำได้เช่นกันครับ

หรือสรุปง่าย ๆ อีกทีคือ โดนใบสั่งค้างค่าปรับ ยังต่อภาษีได้ แต่จะได้หลักฐานแสดงการเสียภาษีชั่วคราว 30 วัน เท่านั้น หากคุณเสียค่าปรับแล้ว ค่อยนำใบเสร็จค่าปรับไปแสดง ถึงจะได้ป้ายภาษีตัวจริงมานั่นเองครับ

หากไม่จ่ายค่าปรับตามใบสั่ง มีโทษอื่น ๆ อีกหรือไม่

แม้ว่าการค้างค่าปรับตามใบสั่งจะยังคงต่อทะเบียนรถได้ แต่คุณอย่าชะล่าใจนะครับ เพราะผลที่คุณกระทำไว้ย่อมสะท้อนกลับมาหาคุณอย่างแน่นอน เริ่มจากมีส่งจดหมายเตือนมาที่บ้านคุณทุกระยะให้คุณไปจ่ายค่าปรับ และคุณอาจโดนโทษเพิ่มมาอีก 1 กระทงคือจ่ายค่าปรับล่าช้าอีกเป็นจำนวน 1,000 บาท รวมถึงเจ้าหน้าที่สอบสวนอาจออกหมายเรียกให้คุณไปรายงานตัวตามวัน เวลา และสถานที่ตามหมายเรียกครับ

นอกจากนี้แม้ว่าคุณจะต่อทะเบียนรถได้ แต่ก็ได้เพียงหลักฐานแสดงการเสียภาษีชั่วคราว 30 วัน เท่านั้น ซึ่งถ้าตำรวจเห็นว่าเราไม่ได้ติดป้ายหลักฐานเสียภาษีตัวจริงมา คุณก็อาจโดนตำรวจโบกเรียกได้เช่นกันครับ ซึ่งมีโทษปรับอีกไม่เกิน 2,000 บาท เพราะฉะนั้น Frank ขอแนะนำว่าหากเราทำความผิดและมีใบสั่งส่งมาถึงบ้าน ให้ไปเสียค่าปรับเพื่อความสบายใจดีที่สุดครับ

ค่าปรับจ่ายช่องทางไหนได้บ้าง

วิธีและช่องทางชำระค่าปรับ คุณสามารถดูรายละเอียดตามเอกสารที่แนบมาพร้อมใบสั่งได้เลยครับ จะมีเนื้อหาคอยบอกรายละเอียดทุกขั้นตอน แต่ทาง Frank จะสรุปให้ทุกท่านทราบพอสังเขปกันก่อนว่าจ่ายได้ที่ช่องทางไหนบ้างดังนี้ครับ

  1. จ่ายได้ที่สถานีตำรวจตามท้องที่ที่ได้รับแจ้ง
  2. สามารถนำหลักฐานค่าปรับไปจ่ายได้ที่ ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา หรือจ่ายตามตู้ ATM หรือ Application KTB ของธนาคารกรุงไทยก็ได้เช่นกัน
  3. สามารถจ่ายได้ตาม CenPay ในเครือ CENTRAL Group เช่น เซ็นทรัล โรบินสัน เป็นต้น
  4. ชำระได้ตามที่ทำการไปรษณีย์ไทยทุกสาขาทั่วประเทศ

 ทั้งนี้หากเรารู้ตัวว่าทำผิดกฎจราจร แต่ใบสั่งยังไม่ส่งมาที่บ้าน คุณสามารถตรวจสอบได้ง่าย ๆ ที่เว็บไซต์ e-Ticket https://ptm.police.go.th/eTicket ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติครับ

สรุปแล้วก็คือหากโดบใบสั่งแล้วยังไม่จ่ายค่าปรับ ก็ยังคงต่อทะเบียนรถได้ แต่ก็จะมีผลเสียต่าง ๆ ตามมามากมาย ซึ่งเทียบกันแล้วจ่ายค่าปรับให้จบเรื่องไปยังไงก็ดีกว่าครับ อีกทั้งการจ่ายค่าปรับสมัยนี้ยังทำง่าย ไม่ต้องลำบากไปจ่ายเองที่สถานีตำรวจแบบเมื่อก่อน และที่สำคัญคือการเคารพกฎจราจรหากเราทำผิดเราก็ควรน้อมรับโทษครับ

ประกันรถยนต์

veerasak p

เชื่อมต่อ กับพวกเรา

รับข่าวสารล่าสุดและข้อเสนอโดยติดตามเราในช่องโปรดของคุณ
LineFacebook
Bolttech
บริษัท โบลท์เทค อินชัวร์นส์ โบรคเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
ใบอนุญาตินายหน้าประกันภัยหมายเลข
00017/2559
หมายเลขจดทะเบียนนิติบุคคล
0105559056161
รับรองความปลอดภัย และ อยู่ภายใต้ความควบคุม ของ
GeoTrustDBDOffice of Insurance Commission
Security & Compliances
GeoTrustDBDOffice of Insurance Commission
bolttech © 2021 All Rights Reserved.