Bolttech Insurance Broker
LinePhone

ลดหย่อนภาษีฟรีแลนซ์ ? ต้องรู้ไรก่อนยื่นภาษีเงินได้

ชีวิตชาวฟรีแลนซ์!! แน่นอนว่า เราต้องเจอกับนายจ้างมากหน้าหลายตา และไม่มีใครมาดูแลเรื่องยื่นภาษี หรือทำเอกสารลดหย่อนภาษีให้เราเหมือนเป็นมนุษย์เงินเดือนแน่ ๆ อ่ะ ! สำหรับฟรีแลนซ์มือใหม่ที่เพิ่งเข้าวงการ และไม่รู้ว่าต้องเสียภาษีฟรีแลนซ์ยังไงดีหนอ แฟรงค์ขอแนะนำตามนี้ครับ !! 
ส่วนใหญ่จะมีการหักภาษีเงินได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ 

  1. หัก 3% ของเงินที่จ่ายทุกครั้ง รับใบทวิทุกรอบ ส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบนี้
  2. คำนวณภาษีจากรายได้สะสมที่ได้รับจากนายจ้าง หรือบริษัทฯ ที่ฟรีแลนซ์ทำงานให้

ฟรีแลนซ์ต้องขอใบทวิ 50 

เฮโล่วพี่จ๋า ใบทวิ 50 สำหรับฟรีแลนซ์คืออะไร ? ฉันไม่รู้จัก (555+) ใจเย็นครับ แฟรงค์ขอหยิบข้อมูลจากกรมสรรพากร ระบุว่า ใบทวิ 50 หรือหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย บางครั้งถูกเรียกว่า “ใบรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย (50 ทวิ)” เป็นเอกสารสำคัญที่ฟรีแลนซ์หรือผู้ทำอาชีพอิสระจะต้องขอจากนายจ้างเองนะครับ หากนายจ้างหักภาษีเราต้องตามเอกสารนี้ด้วยนะ  ไม่เหมือนการเป็นมนุษย์เงินเดือนที่ฝ่ายบุคคลทำให้ล่ะ
กรณีที่เรารับทำงานฟรีแลนซ์ ผู้ว่าจ้างอาจจะขอหักภาษี ณ ที่จ่ายทันทีหลังจากจ่ายเงิน เช่น ค่าจ้าง 1,000 บาทหัก 3% หมายความว่า เราจะมีเงินเหลือเข้ากระเป๋า 970 บาท หักเป็นเงินภาษี 30 บาท 
หรือถ้าเงินรายรับจำนวนมากแนะนำสอบถามสรรพากรใกล้คุณจะดีที่สุด เพราะอาจจะตีความเป็นรายได้มาตรา 40(2) หรือ 40(8) 

“ฟรีแลนซ์ทั้งหลายไม่งงนะครับ”

โดยคนไทยที่มีรายได้ทุกคนจะต้องใช้เพื่อยื่นภาษีเงินได้บุคคลประจำปี (ภงด 91) ล่ะครับ ดังนั้น ย้ำอีกรอบว่า ฟรีแลนซ์ห้ามลืมขอใบทวิ 50 นะจ้ะ รักษาสิทธิตัวเองให้ดี ต้องเก็บให้ดีทุกฉบับ อย่าให้ตกหล่น !! เพราะอาจจะโดนภาษีย้อนหลัง จะบอกว่า หลังอานเลยนะครับ ฮรื้อออ

ลืมขอใบทวิ 50 ทำไงดี 

ไม่มีทางเลือกอื่นเลยครับ นอกจาก "กลับไปขอใบทวิ 50 (ใบหักภาษี ณ ที่จ่าย) จากผู้ว่าจ้างอีกครั้ง" เพราะถ้าเราไม่ยื่น ระวังงานจะเข้า !! 

อัตราภาษีเงินเกณฑ์เดียวกับคนทำงานประจำ

  • เงินได้สุทธิ ตั้งแต่ 1 - 150,000    บาท ได้รับยกเว้น
  • เงินได้สุทธิ ตั้งแต่ 150,001 - 300,000 บาท อัตราภาษีร้อยละ 5 ภาษีแต่ละขั้นเงินได้สุทธิ จะอยู่ที่ 7,500 บาท
  • เงินได้สุทธิ ตั้งแต่ 300,001 - 500,000 บาท อัตราภาษีร้อยละ 10 ภาษีแต่ละขั้นเงินได้สุทธิ จะอยู่ที่ 20,000 บาท    
  • เงินได้สุทธิ ตั้งแต่ 500,001 - 750,000 บาท อัตราภาษีร้อยละ 15 ภาษีแต่ละขั้นเงินได้สุทธิ จะอยู่ที่ 37,500 บาท    
  • เงินได้สุทธิ ตั้งแต่ 750,001 - 1,000,000 บาท อัตราภาษีร้อยละ 20 ภาษีแต่ละขั้นเงินได้สุทธิ จะอยู่ที่ 50,000 บาท
  • เงินได้สุทธิ ตั้งแต่ 1,000,001 - 2,000,000 บาท อัตราภาษีร้อยละ 25 ภาษีแต่ละขั้นเงินได้สุทธิ จะอยู่ที่ 250,000   บาท        
  • เงินได้สุทธิ ตั้งแต่ 2,000,001 - 5,000,000 บาท อัตราภาษีร้อยละ 30 ภาษีแต่ละขั้นเงินได้สุทธิ จะอยู่ที่ 900,000  บาท
  • เงินได้สุทธิ ตั้งแต่ 5,000,001 บาทขึ้นไป อัตราภาษีร้อยละ 35   

นอกจาก ใบทวิ 50 สำหรับฟรีแลนซ์ที่ต้องเตรียม ยังมีเอกสารอื่น ๆ หลักฐานที่ใช้ลดหย่อนร่วมครับ  เช่น ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ (ต้องแจ้งขอเอกสารกับบริษัทฯ หรือตัวแทนก่อนยื่น) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุน RMF/LMF ค่าลดหย่อนเพื่อการบริจาค และค่าลดหย่อนพิเศษปีภาษีแต่ละปี ฯลฯ 
เมื่อฟรีแลนซ์ไม่ฟรีภาษี เอาเป็นว่าทำประกันสุขภาพ และประกันชีวิตไว้ลดหย่อนภาษีและดูแลคุ้มครองคุณเถอะครับ ดีที่สู๊ดล่ะ


FYI : อ้างอิงข้อมูลภาษีเงินได้จากกรมสรรพากร ระบุว่า 

  • มาตรา 40 (2) เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายชำระหนี้ใด ๆ ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชำระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้นั้นไม่ว่าหน้าที่ หรือตำแหน่งงาน หรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว
  • มาตรา 40 (8) เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) แล้ว 

ขอบคุณข้อมูล rd.go.th, wealthmeup.com, set.or.th 
Content by Butter Cutter
Artwork by Kamonwan Wongchai

Butter Cutter

เชื่อมต่อ กับพวกเรา

รับข่าวสารล่าสุดและข้อเสนอโดยติดตามเราในช่องโปรดของคุณ
LineFacebook
Bolttech
บริษัท โบลท์เทค อินชัวร์นส์ โบรคเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
ใบอนุญาตินายหน้าประกันภัยหมายเลข
00017/2559
หมายเลขจดทะเบียนนิติบุคคล
0105559056161
รับรองความปลอดภัย และ อยู่ภายใต้ความควบคุม ของ
GeoTrustDBDOffice of Insurance Commission
Security & Compliances
GeoTrustDBDOffice of Insurance Commission
bolttech © 2021 All Rights Reserved.