ลื่มล้ม หกล้ม เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา มักพบบ่อยสุดในห้องน้ำ หรือในบริเวณทางเดินที่เปียกๆ รวมถึงการใช้รองเท้าที่ไม่เอื้ออำนวยกับสภาพพื้น ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ลื่นล้ม เสี่ยงหัวแตกได้ง่าย แบบนี้ประกันอุบัติเหตุจะคุ้มครองหรือไม่?? วันนี้น้องกวิ้น bolttech.co.th กูรูประกันภัยออนไลน์ มีความรู้ดีๆ มาฝาก
แต่หากเป็นการกระทำบางอย่างที่ตั้งใจทำเมื่อยามขับขันเพื่อเอาชีวิตรอดเช่น ไฟไหม้บ้านจำเป็นต้องวิ่งออกมาแล้วเกิดสะดุดล้ม หกล้ม ก็จะได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุ นอกจากนี้ยังครอบคลุมถึงอุบัติเหตุเล็กๆ น้อยๆ อย่างเช่น มีดบาด น้ำร้อนลวก โดนหมากัด เป็นต้น
ทั่วไปแล้ว ประกันอุบัติเหตุ หรือเรียกกันว่า PA หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันและทำให้เกิดผลที่ผู้เอาประกันภัยมิได้มีเจตนาและมุ่งหวัง จะให้ความคุ้มครองความเสียหาย อันเกิดจากความบาดเจ็บจากปัจจัยภายนอกร่างกายของผู้เอาประกันภัยโดยอุบัติเหตุ ดังนั้นคำว่า "อุบัติเหตุ" ต้องมีองค์ประกอบดังนี้
สรุปได้ว่า ต้องเป็นความบาดเจ็บร่างกายที่ผลมาจากอุบัติเหตุ ที่ไม่สามารถคาดหมายล่วงหน้าได้ ไม่รวมถึงโรคภัยไข้เจ็บ หากลื่นล้มจากแล้วแพทย์สรุปว่า เกิดจากภายในร่างกายเช่น หน้ามืด เส้นเลือดในสมองแตก ก็จะไม่ได้รับความคุ้มครอง แต่ถ้าเกิดจากภายนอกถือว่าได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ต้องให้แพทย์เป็นผู้ลงความเห็นด้วย
การประกันอุบัติเหตุ โดยทั่วไปจะคุ้มครองการโดนลอบทำร้าย การถูกผลักให้ลื่นล้ม การถูกฆ่า หรือถูกทำร้ายร่างกาย จะได้รับความคุ้มครองต่างๆ ที่ระบุในกรมธรรม์เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินชดเชยรายได้ระหว่างเข้ารักษาตัวในรพ. หรือเงินชดเชยกรณีเสียชีวิต เป็นต้น ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขกรมธรรม์ที่ระบุไว้ก่อนหน้านี้
อ่านเพิ่มเติม: วิธีป้องกันอุบัติเหตุหกล้ม ลื่นล้ม ตกบันไดบ้าน
ประกันอุบัติเหตุ จะมุ่งให้ความคุ้มครองความเสี่ยงภัยพื้นฐานของคนทั่วไป ยกเว้นการจ่ายผลประโยชน์กรณีการเล่นหรือแข่งกีฬาอันตราย เช่น การดำน้ำ การเล่นบันจี้จั๊มพ์ เล่นสกี การแข่งรถ แข่งเรือ แข่งสเก็ต เป็นต้น แต่มีบางกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุได้ขยายความคุ้มครองควบคู่กับกีฬาเสี่ยงภัย อาจเพิ่มค่าเบี้ยประกันขึ้นมาด้วย ดังนั้นคุณควรศึกษาเงื่อนไขการรับประกันแต่ละบริษัทฯ ให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจซื้อประกันอุบัติเหตุ เพราะความคุ้มครองแต่ละแผนย่อมไม่เหมือนกัน
เพราะอุบัติเหตุอยู่รอบตัวเรา ซื้อประกันอุบัติเหตุ กับ bolttech.co.th เหมือนมีตัวช่วยรับมือความเสี่ยงเช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินชดเชยขณะรักษาตัวในรพ. ครอบคลุมแม้ขับขี่หรือซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์ ทั้งนี้ให้คุณอ่านเงื่อนไขและข้อยกเว้นให้ดีก่อนตัดสินใจ เพื่อจะได้เลือกความคุ้มครองที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของคุณมากที่สุด
ข้อมูลอ้างอิงจาก: สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)