ใกล้เข้าช่วงเทศกาลวันหยุดยาวแล้ว เพื่อนๆ คงเเพลนไปเที่ยวกันใช่ไหมล่ะ? แต่ถ้าจะสนุกทั้งที เราก็อย่าลืมเรื่องของความปลอดภัยกันด้วยนะครับ เพราะอุบัติเหตุเล็กๆ น้อยๆ ย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ วันนี้เพนกวินเเฟรงค์เลยอยากจะนำวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นมาฝากทุกคนก่อน อย่างเช่น กรณีหกล้มที่พบเจอกันบ่อย หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นมาระหว่างเดินทาง เพื่อนๆ จะได้รู้วิธีปฐมพยาบาลที่ถูกต้องด้วยล่ะ
เวลาเดินทางไปเที่ยวไหน มาไหน เรามักจะซุ่มซ่ามอยู่ตลอดเวลา บ้างก็เดินสะดุด หกล้ม ตกขั้นบันได หากเป็นเช่นนั้นจริงๆ เราต้องรีบปฐมพยาบาลโดยด่วน อย่าปล่อยทิ้งไว้นะครับ เพราะถ้าแผลเกิดถลอกแล้วคุณไม่รีบทำการรักษา ก็อาจจะทำให้แผลเปิด หรือเกิดการติดเชื้อได้ เพื่อความปลอดภัย แบบหายห่วง! เพื่อนๆ ลองทำตามคำแนะนำที่เพนกวิน Frank บอกก่อน!
เป็นอาการของการถูกกระแทก ไม่มีบาดแผลฉีกขาด หรือเลือดออกให้เห็นจากภายนอก แต่จะมีลักษณะเป็นรอยช้ำบวม หรือที่เราเห็นเป็นสีเขียวอมสีม่วงนั่นเอง ซึ่งมาจากการฉีกขาดของกล้ามเนื้อใต้ผิวหนัง และหลอดเลือดฝอยใต้ผิวหนัง สำหรับกรณีบาดแผลฟกช้ำให้เราลองวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อน ดังนี้
หลังจากนั้นก็อย่าลืมหายาทาแก้เคล็ด แก้ฟกช้ำกันด้วยนะครับ จะช่วยให้ลดอาการบวมได้เร็วขึ้น หรือควรรีบไปพบแพทย์เพื่อเช็กอาการเบื้องต้น ว่าบาดแผลรุนแรงพอที่ทำให้ร่างกายภายในบาดเจ็บหรือไม่
เวลาเราเดินสะดุดจนหกล้ม อาจจะทำให้ผิวหนังชั้นนอกของเราไปขีดข่วน ทำให้เกิดแผลถลอกตามมา โดยจะมีเลือดออกเพียงเล็กน้อย หากไม่รีบทำการรักษาก็อาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวด และแผลติดเชื้อได้ เราจึงต้องเตรียมอุปกรณ์ปฐมพยาบาลให้พร้อม เพื่อทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ตามนี้
ข้อควรระวัง: อย่าให้แผลเปียกน้ำ ไม่ควรแกะหรือเกาบาดแผล เพราะอาจจะทำให้แผลหายช้ากว่าเดิม
กรณีที่เราล้มลงพื้นอย่างแรง อาจส่งผลให้ผิวหนังชั้นนอกเกิดอาการฉีกขาดได้ ซึ่งจะมีลักษณะเป็นแผลตัดลึกและมีผิวหนังฉีกขาด และเลือดไหลออกมาเห็นได้ชัด เราต้องรีบทำการปฐมพยาบาลทันที โดยจะใกล้เคียงกับวิธีปฐมพยาบาลกรณีมีดบาดเลือดไหลไม่หยุดเลยครับ
** ทั้งนี้ถ้าเลือดไหลไม่หยุดทำไงก็ยังไม่หาย แสดงว่าบาดแผลอาจจะโดนหลอดเลือดแดง แนะนำให้รีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทันที ระหว่างทางก็ควรหาผ้าสะอาดมาปิดแผลที่กำลังเลือดไหลด้วย
สำหรับเคสนี้จะต้องใช้ความระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากขณะที่เราหกล้มอาจทำให้กระดูกเคลื่อนตัวออกจากกัน เช่น ขาส่วนบน กระดูกสันหลัง ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวด บวมช้ำ หรือเคลื่อนไหวไม่ได้ ดังนั้น เราจะต้องศึกษาวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้กันดีก่อน
ข้อควรระวัง : หากคุณจำเป็นจริงๆ ต้องถอดเสื้อผ้าออก ควรหากรรไกรตัดตามตะเข็บดีกว่า อย่าฝืนเคลื่อนไหวบริเวณที่กระดูกหักเด็ดขาด!! กรณีที่ปวดมากๆ แล้วต้องรอรถพยาบาลนานเกิน 1 ชั่งโมง สามารถรับประทานยาแก้ปวดอย่างพาราเซตามอลได้ แต่ไม่แนะนำให้ใช้ยาแอสไพรินหรือไอบูโพรเฟน เพราะจะไม่เหมาะกับการรักษาอาการบาดเจ็บภายใน
ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงแค่วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นเท่านั้นนะครับ ทางที่ดีเราควรพบแพทย์เพื่อให้ตรวจสอบด้วยว่า เรามีบาดแผลอื่นเพิ่มเติมหรือไม่ ถ้ามีเราจะได้รักษาอย่างถูกวิธี หรือใครที่ยังกังวลเรื่องอุบัติเหตไม่คาดคิด ก็สามารถซื้อประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลให้ช่วยคุ้มครองคุณได้นะ ไม่ว่าจะบาดเจ็บกรณีหกล้ม เดินสะดุด หรือตกบันได จนเป็นเหตุให้แผลถลอก หรือกระดูกหักประกันอุบัติเหตุก็ช่วยดูแล อีกทั้งยังรักษาในโรงพยาบาลกว่า 400 แห่ง แบบไม่ต้องสำรองจ่ายด้วย มีแผนประกันให้เลือกตามที่ต้องการเลย ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของคุณแน่นอน
แต่อย่าลืมอ่านเงื่อนไขประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) คุ้มครองและไม่คุ้มครองอะไรด้วยนะ
ขอบคุณข้อมูล