Bolttech Insurance Broker
LinePhone

ออฟฟิศซินโดรม สาเหตุ อาการ และวิธีป้องกัน

“ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)” เป็นอาการเจ็บป่วยอย่างหนึ่งที่พบได้บ่อยในกลุ่มพนักงานออฟฟิศ จากสถิติส่วนใหญ่พบว่าหนุ่มสาวพนักงานออฟฟิศมีอาการปวดหลัง ปวดเมื่อยตามตัวที่เกิดจากท่านั่งทำงานที่ไม่ถูกต้อง และใช้เวลานั่งทำงานเป็นนานๆ โดยไม่เปลี่ยนอิริยาบท ก็กลายเป็นปัญหาอาการปวดเมื่อยเรื้อรัง ทำให้ป่วยเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมนั่นเอง แต่หลายคนอาจจะยังงงๆ ว่าอาการออฟฟิศซินโดรมนั้นเป็นอย่างไร มีวิธีการป้องกันตัวเองอย่างไรบ้าง แล้วเพื่อดูแลตัวเองตั้งแต่เนิ่นๆ เราลองมาศึกษากันเลยดีกว่า

โรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คืออะไร?

อาการออฟฟิศซินโดรม คือ อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อรูปแบบหนึ่ง ที่เกิดจากการทำงานที่ไม่ถูกต้องหรือใช้ระยะเวลาทำงานนานเกินไป จนทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและมีอาการชาตามส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น หลัง ไหล่ สะบัก ต้นคอ แขน ข้อมือ นิ้วมือ รวมถึงมีอาการปวดศีรษะและสายตาด้วย หากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานก็จะส่งผลให้มีอาการเจ็บปวดเรื้อรังในที่สุด

โรคออฟฟิศซินโดรมเกิดจากอะไรบ้าง?

แล้วอาการออฟฟิศซินโดรมเกิดจากอะไร ทำไมถึงปวดเมื่อยตามตัวขณะทำงาน ซึ่งสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เกิดออฟฟิศซินโดรมนั้น มีอยู่ 2 ปัจจัยด้วยกัน ได้แก่ 

1. สภาพแวดล้อมที่ทำงานไม่ถูกต้อง

ปัจจัยแรกเกิดจาก สภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่เอื้ออำนวย เช่น การใช้โต๊ะหรือเก้าอี้ที่ไม่เหมาะกับโครงสร้างร่างกาย ตำแหน่งหน้าจอคอมพิวเตอร์สูงหรือต่ำจนเกินไป หรืออุปกรณ์ที่ใช้ไม่เหมาะสม เป็นต้น

2. อิริยาบถในการทำงานไม่เหมาะสม

ปัจจัยที่สองมาจาก การนั่งทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น นั่งหลังค่อม นั่งหลังงอ นั่งบนเก้าอี้ที่ไม่มีพนักพิง นั่งไขว้ห้าง หรือนั่งท่าเดิมนานจนเกินไป จะส่งผลให้ร่างกายรู้สึกไม่ผ่อนคลายจนเกิดอาการปวดเมื่อยตัว รวมถึงสภาวะความเครียดที่มาจากการทำงานก็ยิ่งส่งผลให้เจ็บป่วยตามมาด้วย

อาการออฟฟิศซินโดรม

  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ปวดไหล่ ปวดคอ ปวดบ่า ปวดท้ายทอย ปวดกระดูกสันหลัง ปวดมือ ปวดแขน ปวดเข่า ปวดสะโพก หรือปวดขา จะมีอาการปวดเมื่อยตามตัวชัดเจน หากเราไม่รีบทำการรักษาก็จะเกิดอาการเจ็บปวดเรื้อรังได้
  • มีอาการะบบประสาทร่วมด้วย เช่น อาการหน้ามืดคล้ายจะเป็นลม อาการตาพร่ามัว  อาการหูอื้อ หรือปวดศีรษะตามมา
  • อาการทางระบบประสาทที่ถูกกดทับ จะมีลักษณะอาการชาตามร่างกาย เช่น อาการชาแขนและขา รวมถึงมีอาการอ่อนล้า อ่อนเพลียได้ง่าย

นอกจากนี้ ผู้ป่วยออฟฟิศซินโดรมจะมีอาการเกร็งมือ ปวดนิ้ว นิ้วล็อค หรืออาจจะเป็นโรคหมอนรองกระดูกแทรกซ้อนด้วย รวมถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อ หรือบางรายก็ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ จะต้องรีบทำการรักษาทันทีก่อนจะเป็นอันตรายต่อกล้ามเนื้อ

วิธีป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม

สำหรับวิธีการป้องกันอาการออฟฟิศซินโดร สามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน ซึ่งเราจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำที่ถูกต้อง โดยเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนั่งทำงาน หรือสภาพแวดล้อมในการนั่งทำงาน ก็จะช่วยลดอาการป่วยเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมได้

  • ปรับสภาพแวดล้อมการทำงานให้เหมาะสม เช่น เลือกเก้าอี้ที่นั่งสบาย ปรับความสูงของเบาะเก้าอี้ให้พอดี ปรับพนักพิงให้รองรับกับแผ่นหลัง ปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา และปรับความสว่างของหน้าจอที่สบายตา เป็นต้น
  • ปรับเปลี่ยนท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง ต่อมาให้ลองปรับเปลี่ยนท่านั่งทำงานที่จะช่วยลดอาการปวดหลัง เช่น นั่งตัวตรงหลังชิดขอบด้านในของเก้าอี้ หรือสามารถใช้หมอนนิ่มๆ มาหนุนหลัง จะช่วยให้คุณนั่งในท่าสบายมากขึ้น แล้วที่สำคัญอย่าเผลอนั่งหลังงอเด็ดขาด!!
  • บริหารร่างกาย หรือทำโยคะ หากเรามีปัญหาปวดหลัง ปวดเมื่อยตัวขณะทำงาน แนะนำให้ บริหารร่างกายหรือทำโยคะเล็กๆ น้อยๆ ก็จะช่วยลดอาการออฟฟิศซินโดรมได้ แต่ถ้าคุณยังไม่รู้ว่าจะต้องบริหารร่างกายยังไง? แฟรงค์มีท่าเด็ดพิชิตออฟฟิศซินโดรมมาฝากด้วยนะ มาอ่านกันเลย!!
  • พักสายตาบ้าง ถึงแม้เราจะเปลี่ยนท่านั่งทำงานที่เหมาะสมแล้ว หากเราจ้องคอมนานๆ ก็ส่งผลให้คุณรู้สึกปวดตาได้เช่นกัน ทางที่ดีเราควรพักสายตาทุกๆ 15 นาที เพียงให้หลับตา 1-10 วินาที หรือลองกระพริบตาบ่อยๆ เพื่อพักสายตาจากการทำงาน นอกจากนี้เราสามารถใส่แว่นตาที่ช่วยถนอมสายตา หรือใช้แว่นกรองแสงสีฟ้าที่ป้องกันแสงหน้าจอคอม ก็จะช่วยให้เรามองแล้วรู้สึกสบายตามากขึ้น
  • เปลี่ยนอิริยาบถ เพราะการนั่งท่าเดิมๆ เป็นเวลานานจะทำให้ร่างกายเกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แนะนำให้เราเปลี่ยนท่านั่งทุกๆ 20-30 นาที จะช่วยลดอาการออฟฟิศซินโดรมได้

ถึงแม้ว่า “ออฟฟิศซินโดรม” จะเป็นเพียงอาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ แต่ถ้าเราไม่รีบทำการรักษาหรือดูแลตัวเองตั้งแต่เนิ่นๆ ก็อาจส่งผลอันตรายต่อร่างกายได้เหมือนกัน ทางที่ดีเราควรป้องกันเอาไว้ก่อนดีกว่า จะได้ไม่ต้องเจ็บปวดทรมานภายหลัง หรือจะมองหาประกันสุขภาพดีๆ เพื่อให้ช่วยดูแลค่ารักษาพยาบาลเมื่อยามเจ็บป่วยในอนาคตได้ ตอบโจทย์คนวัยทำงานเลย เพราะประกันสุขภาพจะช่วยดูแลคุณอีกทาง หมดห่วงมากขึ้น

Sleeping Blogger

Content Writer ผู้ที่รักงานเขียนเป็นชีวิตจิตใจ ชอบเล่าเรื่อง แชร์ความรู้ใหม่ๆ หรือไอเดียง่ายๆ ที่เป็นสไตล์ของตัวเอง อยากให้เพื่อนๆ สนุกไปด้วยกัน!

เชื่อมต่อ กับพวกเรา

รับข่าวสารล่าสุดและข้อเสนอโดยติดตามเราในช่องโปรดของคุณ
LineFacebook
Bolttech
บริษัท โบลท์เทค อินชัวร์นส์ โบรคเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
ใบอนุญาตินายหน้าประกันภัยหมายเลข
00017/2559
หมายเลขจดทะเบียนนิติบุคคล
0105559056161
รับรองความปลอดภัย และ อยู่ภายใต้ความควบคุม ของ
GeoTrustDBDOffice of Insurance Commission
Security & Compliances
GeoTrustDBDOffice of Insurance Commission
bolttech © 2021 All Rights Reserved.