หลังจากมีข่าว “ไม่ได้บินเพราะเจิมมา! พบลงยันต์ในพาสปอร์ต ทั้งที่กรมการกงสุลเคยเตือนแล้วอย่าทำ” เนื้อข่าวโดยสรุปก็คือ มีหญิงสาวคนหนึ่งดันเอาหนังสือเดินทางของตนเองไปให้พระลงยันต์ให้เพื่อเสริมสิริมงคล แต่ผลก็คือ พาสปอร์ตเล่มชำรุดนั้นไม่สามารถใช้ในการเดินทางออกนอกประเทศได้อีกต่อไป เพราะการให้คนอื่นที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ขีดเขียนอะไรลงไปในพาสปอร์ตถือเป็นข้อห้ามเด็ดขาด เขียนปุ๊บ ถือว่าพาสปอร์ตชำรุดเสียหายปั๊บ ถ้าจะเดินทางไปต่างประเทศ ก็ต้องกลับไปดูวิธี และทำพาสปอร์ตใหม่เลย ทำพาสปอร์ต 10 ปี 2563 ทำที่ไหน เตรียมเอกสารอย่างไร ซึ่งเหตุการณ์นี้ไม่ใช่ครั้งแรกเสียด้วย มีมาเรื่อย ๆ ไม่เบื่อเลยหล่ะ แต่อย่างนี้ เราจะรู้ได้อย่างไรหล่ะว่าพาสปอร์ตของเรา อะไรทำได้บ้าง ทำไม่ได้บ้าง วันนี้ เพนกวินแฟรงค์เลยได้ไปรวบรวม 7 ห้ามทำหากไม่อยากให้พาสปอร์ตชำรุดเสียหาย ใครมีพาสปอร์ต อ่านด่วนเลย
ข้อนี้ก็ตรงตามข่าวเลยครับ ห้ามเขียน ห้ามขีด ห้ามวาดอะไรลงพาสปอร์ตของเราเด็ดขาดนะครับ เอาไว้ให้เจ้าหน้าที่เขียนอย่างเดียวพอ
ปกเดิม ๆ ไม่เก๋ ขอเย็บตัวการ์ตูนแปะลงไปหน่อยละกัน ใครคิดอย่างนี้อยู่ หยุดเลยนะครับ เพราะถ้าปกพาสปอร์ตของเราชำรุดเสียหาย ไม่ว่าจะขาดหรือเป็นรู ได้โบกมือบ้ายบาย และไปทำพาสปอร์ตใหม่อีกรอบแน่นอนครับ
เก็บพาสปอร์ต เก็บดี ๆ อย่าให้ยับนะครับ ถ้ากลัวยับ ก็หาซองหนา ๆ มาใส่ เอกสารสำคัญแบบนี้ เก็บดี ๆ หน่อยนะครับ
เนื่องจากพาสปอร์ตแบบที่ใช้กันทุกวันนี้ เป็น E-Passport หรือหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีเทคโนโลยีการเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ลงในรูปเล่มด้วยครับ แต่หากเราเก็บพาสปอร์ตไว้ในบริเวณที่มีคลื่นความถี่วิทยุ หรือสนามไฟฟ้าสูง เช่นโทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ หรือไมโครเวฟ อาจทำให้ตัวเก็บข้อมูลในพาสปอร์ตของเราชำรุดเสียหายก็ได้ครับ ดังนั้น เลือกที่เก็บพาสปอร์ตดี ๆ นะครับ
ข้อนี้เหตุผลก็เหมือนข้อสี่เลยครับ หากพาสปอร์ตของเราโดนกดทับเป็นเวลานาน ๆ อาจทำให้ตัวเก็บข้อมูลในพาสปอร์ตของเราเสียหายได้ครับ
เพราะพาสปอร์ตของเราก็คือหนังสือเล่มหนึ่งนั่นแหละครับ และการเก็บหนังสือไว้ในห้องหรือบริเวณที่มีความชื้นเป็นระยะเวลานาน ๆ ราจะขึ้นเอา เผลอ โดนปลวกแทะ โดนหนูแทะเสียหายไปอีก
อยากให้พาสปอร์ตอยู่กับเรานาน ๆ หลีกเลี่ยงการเก็บพาสปอร์ตเข้าใกล้วัตถุที่มีความร้อนซึ่งมีอุณหภูมิสูงกว่า 50 องศาเซลเซียส งดวางพาสปอร์ตตรงที่มีแสงแดดส่องทั้งวัน ห้ามวางหนังสือเดินทางของเราไว้ที่เปียกแฉะ สัมผัสน้ำ หรือสถานที่ใกล้สารเคมีต่าง ๆ รวมทั้งสถานที่ที่มีฝุ่นละอองเยอะ ๆ อันนี้เลี่ยงได้ก็เลี่ยงครับ
ข้อนี้ตรงๆ เลยครับ การทำตามคำแนะนำในข้อ 7 นี้ จะช่วยรักษาให้พาสปอร์ตของเรามีสภาพพร้อมใช้งานอยู่ตลอด
และนี่ก็คือ 7 ห้ามทำหากไม่อยากให้พาสปอร์ตเสียหาย รู้แล้วก็อย่าลืมทำตามกันด้วยนะครับ เวลาเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ จะได้ไม่ประสบปัญหาจนทริปสุดหรูที่วางแผนมาตลอดทั้งปีเป็นอันต้องล่มเพราะพาสปอร์ตชำรุดจนเช็กอินไม่ได้ เพนกวินแฟรงค์เป็นห่วง