สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ดูไม่มีทีท่าจะซาลงในเร็ววัน แน่นอนว่าลูกจ้าง แรงงานหลายล้านคนได้รับผลกระทบไปด้วย โดยวันนี้ภาครัฐก็ได้ออก มาตรการแจกเงินเยียวยาให้แรงงานที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด จำนวน 5,000 บาท ชื่อว่าโครงการ “เราไม่ทิ้งกัน” ว่าแต่ว่า วิธีการลงทะเบียนรับเงินเยียวยามีขั้นตอนอย่างไร และใครสามารถลงทะเบียนรับเงินเยียวยาบ้าง แฟรงค์สรุปมาให้คุณแล้ว
ก่อนจะไปดูวิธีการลงทะเบียน เรามาเช็กกันก่อนดีกว่าว่ามีใครบ้าง สามารถรับเงินเยียวยาจากโครงการ เราไม่ทิ้งกัน ได้บ้าง
1. มีสัญชาติไทย มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป
2. เป็นลูกจ้าง หรือเจ้าของในกิจการที่ต้องปิดเนื่องจากคำสั่งของรัฐ หรืออาชีพอื่นที่ได้รับผลกระทบ เช่น วินมอเตอร์ไซค์ แท็กซี่ ไกด์
3. ไม่ใช่ข้าราชการ เกษตรกร หรือว่างงาน
4. รายได้ไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษี
5. ต้องมีประกันสังคมมาตรา 39 - 40 (หรือคนที่ส่งประกันสังคมเอง ไม่ผ่านนายจ้าง )
6. ไม่มีประกันสังคมมาตรา 33
สรุปก็คือ คนที่มีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยา คือลูกจ้างชั่วคราว ฟรีแลนซ์ หรือคนที่ไม่มีประกันสังคมมาตรา 33 ทุกคน แต่ก็มีคำถามเช่น เป็นพนักงานประจำแต่ยังไม่ผ่านโปร (ยังไม่มีประกันสังคมมาตรา 33) จะลงทะเบียนรับเงินเยียวยาด้วยได้หรือไม่ คำตอบคือได้ครับ! แต่ถ้ามีประกันสังคมมาตรา 33 แล้ว สามารถดูมาตรการชดเชยเยียวยาได้ที่ โควิด-19 ทำให้ต้องหยุดงาน ออกจากงาน ประกันสังคมช่วยเหลืออย่างไรบ้าง?
เมื่อเช็กคุณสมบัติแล้ว อ้าว เรามีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชยนี่ งั้นมาดูช่องทางลงทะเบียนกันดีกว่า โดยรัฐเปิดให้เราลงทะเบียนผ่านช่องทางออนไลน์
ตั้งแต่ วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม 2563 ในเวลา 18.00 น. เป็นต้นไป
หมายเลขพร้อมเพย์ (ที่ผูกกับหมายเลขบัตรประชาชนเท่านั้น)
บัญชีธนาคาร
โดยเมื่อลงทะเบียนเสร็จสิ้น เราจะได้รับเงินเยียวยาภายใน 7 วันทำการ เป็นระยะเวลา 3 เดือน (รวมทั้งสิ้น 15,000 บาท ) ซึ่งก็เป็นอีกมาตราการนึงของภาครัฐที่ช่วยการเยียวยาช่วยเหลือประชาชนจากผลกระทบของโรคโควิด - 19