Bolttech Insurance Broker
LinePhone

วิธีเอาตัวรอดจาก Covid-19 เมื่อใช้รถโดยสารสาธารณะ

ยกการ์ดป้องกันโรคโควิด 19 หากเราจำเป็นต้องใชรถโดยสารสาธารณะในชีวิตประจำวันเพื่อไปทำงาน ซื้ออาหารการกิน ไม่ว่าจะเป็นรถประจำทาง รถไฟฟ้า รถตู้สาธารณะ รถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง หรือรถเเท็กซี่ เราจะต้องปฏิบัติตนอย่างไร ให้ปลอดภัยจากเชื้อไวรัสโควิด 19  มาดูวิธีป้องกันเลยครับ เพื่อความปลอดภัยทั้งผู้โดยสารและผู้ขับรถทุกคน 

1. รถเเท็กซี่

รถโดยสารสาธารณะ

ถ้าเราจำเป็นต้องใช้บริการรถแท็กซี่ หรือใช้บริการ grab taxi, grab car ส่วนตัว แนะนำให้ นั่งไม่เกิน 2-3 คน (ไม่รวมคนขับ ) เพื่อลดความแออัดภายในรถ แล้วให้ผู้โดยสารทุกคนปฏิบัติตนตามนี้ 

  • ผู้โดยสารนั่งข้างหลังคนขับ 
  • สวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา 
  • หลีกเลี่ยงการพูดคุยภายในรถ 
  • ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ 
  • งดคุยโทรศัพท์ขณะโดยสาร 
  • หากผู้ขับรถไม่สวมหน้ากากอนามัย ผู้โดยสารสามารถปฏิเสธได้ 

อ่านเพิมเติม : วิธีใส่หน้ากากอนามัยให้ถูกต้อง

2. รถประจำทาง 

รถโดยสารสาธารณะ

หลายๆ คนที่ต้องไปทำงานอาจจำเป็นต้องใช้รถประจำทาง อย่างเช่นรถเมล์เป็นหลัก การเดินทางด้วยรถเมล์ที่มีผู้โดยสารหนาแน่น ก็ยิ่งเสี่ยงติดเชื้อโควิด19 ได้ง่าย ดังนั้นให้ผู้โดยสารทุกคนจะต้องทำ ตามมาตรการ Social Distancing  อย่างเข้มงวด 

  • ยืนรอรถประจำทาง ห่างกันอย่างน้อย 1-2 เมตร 
  • สวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา 
  • ผู้โดยสารจะต้องนั่งบนเบาะที่กำหนด (เบาะที่ไม่มีเครื่องหมายกากบาทและยืนบนจุดที่กำหนด 
  • หลีกเลี่ยงนั่งรถที่มีผู้โดยสารหนาแน่น 
  • ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ หากต้องสัมผัสราวหรือกริ่งกด

3. รถตู้สาธารณะ

รถโดยสารสาธารณะ

สำหรับรถตู้โดยสารสาธารณะทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ผู้โดยสารทุกคนจะต้องทำตามมาตรการป้องกัน covid 19 เช่นกัน เพื่อควบคุมไม่ให้แพร่ระบาดไปยังผู้ขับรถ และผู้โดยสารคนอื่นที่ใช้รถตู้สาธารณะร่วมกันด้วย 

  • ผู้โดยสารทุกคน ควรตรวจวัดอุณหภูมิก่อนขึ้นรถ 
  • สวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา 
  • นั่งห่าง 1 ที่ เว้น 1 ที่ 
  • หลีกเลี่ยงการพูดคุยกันขณะโดยสารรถตู้ 
  • ให้จ่ายธนบัตรหรือเหรียญโดยการใส่ตะกร้าแทน 
  • ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ 
  • กรณีข้ามต่างจังหวัด ให้ผู้โดยสารตอบคำถามสุขภาพ (แบบ ต.8-คค) ระบุชื่อ ที่อยู่ ข้อมูลที่สามารถติดต่อได้ และอย่าลืมกักตัว 14 วัน เมื่อถึงต่างจังหวัด เพื่อสังเกตอาการต่อไป 

4. รถไฟฟ้า หรือรถไฟฟ้าใต้ดิน

รถโดยสารสาธารณะ

ผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่เมืองหลวงอย่าง “กรุงเทพฯ” มักจะต้องใช้รถไฟฟ้า หรือรถไฟฟ้าใต้ดินเดินทางเป็นประจำอยู่แล้ว แนะนำให้พยายามหลีกเลี่ยงช่วงเวลาแออัด หรือรอให้ผู้โดยสารภายในรถออกจนหมดก่อนที่จะขึ้นไป หากผู้โดยสารภายในรถแน่นอยู่ก็ควรจะรอขบวนถัดไป เอาเป็นว่า เรามาดูวิธีปฏิบัติตนเบื้องต้นสำหรับการใช้รถไฟฟ้ากันดีกว่า 

  • สวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา 
  • ตรวจวัดอุณหภูมิบริเวณทางเข้า-ออกบัตร (หากมีอุณหภูมิเกิน 37.5 องศา จะไม่อนุญาตให้เข้าใช้บริการ) 
  • เผื่อเวลาเดินทางล่วงหน้า และยืนรอเว้นระยะห่าง 
  • เราควรนั่งเว้นระยะห่างตามมาตรการ social distancing 
  • หากรถไฟฟ้าแน่นเกินไป โปรดยืนรอขบวนถัดไป 
  • ไม่ควรพูดคุยกันขณะอยู่ในขบวนรถ 
  • ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ ที่จุดทางเข้า-ออกบัตร 

5. รถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง

รถโดยสารสาธารณะ

ในช่วงเวลาอันเร่งรีบไปทำงาน บางครั้งเราอาจจำเป็นต้องนั่งวินมอเตอร์ไซค์เพื่อให้ถึงที่หมายเร็วที่สุด แต่ก็แอบกังวลใจว่าเราจะเสี่ยงติดโควิด 19 หรือเปล่า เพื่อความปลอดภัยทั้งผู้โดยสารและผู้ขับขี่ ให้เราปฏิบัติตนตามนี้ 

  • สวมใส่หน้ากากอนามัย 
  • สวมหมวกนิรภัย (ให้ใช้ถุงพลาสติกคลุมผมตัวเองก่อน) 
  • ผู้โดยสารควรนั่งข้างแทนการคร่อมเบาะ 
  • หลีกเลี่ยงการพูดคุยกับคนขับขณะโดยสาร 
  • พกเจลแอลกอฮอล์ และหมั่นล้างมือบ่อยๆ 

ถ้าเราจำเป็นต้องใช้รถโดยสารสาธารณะ โดยเฉพาะกลุ่มคนทำงานในกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงโควิด จะต้องเฝ้าระวังให้ดี การ์ดอย่าตก!! และทำตามข้อปฏิบัติอย่างเคร่งขัด เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง คนในครอบครัว และผู้อื่นในสังคม 

ขอบคุณข้อมูลจาก : กระทรวงคมนาคม และกรมการขนส่งทางบก 

ประกันสุขภาพ

Sleeping Blogger

Content Writer ผู้ที่รักงานเขียนเป็นชีวิตจิตใจ ชอบเล่าเรื่อง แชร์ความรู้ใหม่ๆ หรือไอเดียง่ายๆ ที่เป็นสไตล์ของตัวเอง อยากให้เพื่อนๆ สนุกไปด้วยกัน!

เชื่อมต่อ กับพวกเรา

รับข่าวสารล่าสุดและข้อเสนอโดยติดตามเราในช่องโปรดของคุณ
LineFacebook
Bolttech
บริษัท โบลท์เทค อินชัวร์นส์ โบรคเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
ใบอนุญาตินายหน้าประกันภัยหมายเลข
00017/2559
หมายเลขจดทะเบียนนิติบุคคล
0105559056161
รับรองความปลอดภัย และ อยู่ภายใต้ความควบคุม ของ
GeoTrustDBDOffice of Insurance Commission
Security & Compliances
GeoTrustDBDOffice of Insurance Commission
bolttech © 2021 All Rights Reserved.