ทุกครั้งที่เกิด อุบัติเหตุทางรถยนต์ คนที่มักเสี่ยงได้รับบาดเจ็บมากที่สุด คือ ผู้ขับขี่ เนื่องจากร่างกายของผู้ขับขี่จะถูกกระแทกเข้าอย่างรุนแรง อาจทำให้กระดูกหัก บางรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ จึงต้องมีอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยอย่าง “ ถุงลมนิรภัย (Airbag) ” ที่ช่วยลดแรงกระแทกเมื่อเกิดอุบัติเหตุ แต่ก็ยังมีประเด็นข่าวออกมาเรื่อยๆ เกี่ยวกับการใช้งานถุงลมนิรภัยว่าปลอดภัยจริงหรือ? งั้นเรามารู้จักถุงลมนิรภัย และ หลักการทำงานของถุงลมนิรภัยกันก่อน
หลายคนน่าจะรู้จักดี “ ถุงลมนิรภัย ” หรือแอร์แบ็ก เป็นอุปกรณ์เสริมสำหรับรถยนต์ ออกแบบมาเพื่อรักษาความปลอดภัยเวลาที่เกิดอุบัติเหตุ ถุงลมจะช่วยลดแรงกระแทกกับวัตถุภายในรถยนต์ เช่น พวงมาลัย คอลโซลรถ ประตู หน้าต่าง มีลักษณะเป็นถุงลมขนาดใหญ่คล้ายๆ กับหมอนนุ่ม ทำให้บริเวณหน้าอกและศีรษะบาดเจ็บน้อย ไม่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต สำหรับรถยนต์ที่ติดตั้งถุงลมนิรภัยจะมีตัวอักษรภาษาอังกฤษติดไว้ คือ SRS
เวลาที่เกิดอุบัติเหตุรถชน หรือรถยนต์ได้รับแรงกระแทก มีเซ็นเซอร์คอยตรวจจับแรงกระแทก สั่งให้ถุงลมนิรภัยทำงานและพองตัวออกมา โดยแก๊สภายในถุงลมนิรภัยมาจากสารเคมีโซเดียม เอไซด์ (Sodium Azide) จะเกิดปฏิกิริยาสลายตัวกลายเป็นโลหะโซเดียมและแก๊สไนโตรเจน หากได้รับเซ็นเซอร์ว่ารถยนต์กำลังเกิดอุบัติเหตุ สามารถพองตัวด้วยความเร็ว 300 กิโลเมตร/ชั่วโมง ใช้เวลาเพียง 0.04 วินาที แล้วจะยุบตัวลงอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันไม่ให้หน้าจมค้างไว้
อย่างไรก็ตาม ถุงลมนิรภัย ก็ไม่ได้ทำงานทุกครั้งที่เกิดอุบัติเหตุ สาเหตุมาจากอุบัติเหตุไม่ได้รุนแรงมากนัก หรืออุบัติเหตุชนบริเวณฝากระโปรงหน้า หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของตัวรถ ที่ไม่ทำให้เกิดแรง G มากพอเพื่อกระตุ้นการทำงานของถุงลม หรือรถถูกชนกลางตัวถังและรถคว่ำ แต่สำหรับรถที่ติดตั้งถุงลมนิรภัยด้านข้างมักจะกางออกมา
มีหลายกรณีที่ถุงลมนิรภัยไม่ทำงาน เช่น การโดนชนท้าย ตัวเซ็นเซอร์ของถุงลมมีปัญหา สายไฟขาด การออกแบบตัวถุงลมไม่ได้มาตรฐาน เป็นต้น การตรวจสอบถุงลมนิรภัยจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับความปลอดภัย
ถึงแม้ถุงลมนิรภัยจะช่วยลดแรงกระแทกเมื่อเกิดอุบัติเหตุ แต่ก็มีข่าวจากในประเทศและต่างประเทศกล่าวถึง การเสียชีวิตจากถุงลมนิรภัย ที่เกิดจากสารเคมีแอมโมเนียมไนเตรท ทำให้ถุงลมปล่อยแรงระเบิด และเศษชิ้นส่วนต่างๆ กระเด็นพุ่งร่างกาย ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ขับขี่ แล้วตรวจสอบพบว่านั่นก็คือ “ถุงลมนิรภัยยี่ห้อทาคาตะ”
ทางด้านสภาองค์กรของผู้บริโภค จึงได้มีการประกาศการเรียกคืน (Recall) ผู้ใช้รถที่เข้าข่ายต้องตรวจสอบ และให้นำรถเข้ามาเปลี่ยนชุดสร้างแรงดันของชุดถุงลม
ขณะที่บริษัทรถยนต์ในไทย ก็ได้มีการเรียก Recall ตรวจสอบตั้งแต่ปี 2556 จนขณะนี้แก้ไขไปกว่า 1 ล้านคัน จากทั้งหมดประมาณ 1.7 ล้านคัน แต่ปัจจุบันยังเหลือรถยนต์อีกกว่า 6 แสนคัน ที่ยังไม่ได้รับการตรวจสอบและแก้ไขถุงลมนิรภัย (ข้อมูลจากวันที่ 10 พ.ค.65) หากคุณติดตั้งถุงลมนิรภัยที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ตรวจสอบความปลอดภัย อาจเป็นอันตรายแก่ผู้ขับขี่และผู้โดยสารได้แทนที่จะป้องกัน
ทั้งนี้เราสามารถ ตรวจสอบยี่ห้อและรุ่นรถยนต์ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ที่ลิงก์ www.checkairbag.com หรือนำรถเข้าไปที่ศูนย์บริการทุกสาขา หรือติดต่อฝ่ายบริการลูกค้าทางโทรศัพท์ (Call Center) ของแต่ละบริษัทรถยนต์ หรือสายด่วนที่ 1584 เพื่อสอบถามข้อมูลได้ตลอด 24 ชั่วโมง
เพราะรถยนต์ของคุณ อาจมีการติดตั้งถุงลมนิรภัยทาคาตะ และมีชิ้นส่วนที่ไม่ได้รับมาตรฐาน ทำให้เกิดอันตรายได้ อย่าลืมเข้ามาตรวจสอบและนัดวันเปลี่ยนบริการชิ้นส่วน ถ้าคุณตรวจสอบอุปกรณ์ถุงลมนิรภัยจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับคุณ แล้วที่สำคัญเราต้องคาดเข็มขัดนิรภัย และขับขี่ด้วยความระมัดระวัง เพื่อความปลอดภัยร่วมกันบนท้องถนน
เปลี่ยนถุงลมนิรภัยแล้ว มีประกันรถยนต์แล้วหรือยัง? หากประกันของคุณใกล้หมดอายุให้รีบต่อที่ bolttech.co.th เช็กเบี้ยฟรี! ซื้อผ่านออนไลน์ คุ้มครองทันที มีแผนประกันที่เลือกได้ตามใจคุณ หรือมีคำถามเกี่ยวกับประกันรถยนต์ สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ bolttech ได้เสมอ เรายินดีให้บริการลูกค้าทุกท่าน