เมื่อพูดถึง อาชีพอิสระ หรือเรียกกว่า ฟรีแลนซ์ มักจะมีความคล่องตัวในการทำงานมากกว่างานประจำ ทั้งเรื่องสถานที่และเวลา แต่ในขณะเดียวกันก็ความผันเปลี่ยนกับรายได้ที่ไม่แน่นอน ชาวฟรีแลน์หลายคนจึงเริ่มมองหา ประกันสังคมมาตรา 40 ให้ช่วยชดเชยในกรณีต่างๆ อย่างเช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินชดเชยรายได้เมื่อรักษาตัว เป็นต้น
แต่ในปัจจุบันนี้ค่าใช้จ่ายต่างๆ ก็ยิ่งแพงขึ้น ไหนจะค่ารักษาพยาบาล ค่ายา ค่าห้องพัก ประกันสังคมที่คุณมีอยู่อาจไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายเหล่านี้ หรือไม่ครอบคลุมได้ดีเท่าที่ควร แต่ถ้าเรามองหาประกันอื่นๆ เข้ามาเสริมความคุ้มครองในส่วนนี้ ถือว่าช่วยเเบ่งเบาภาระของคุณได้ เปรียบเสมือนตัวช่วยที่ดีให้กับคุณอีกทาง
ประกันสังคม ม.40 คือ บุคคลทั่วไปที่ประกอบอาชีพ หรือแรงงานอิสระ ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือผู้ประกันตนมาตรา 39 เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ประกันสังคมให้ความคุ้มครองแรงงานนอกระบบ หรือให้ค่าชดเชยกรณีต่างๆ
อ่านเพิ่มเติม: ประกันสังคมมาตรา 39 กับ 40 ต่างกันอย่างไร
ยกตัวอย่าง อาชีพฟรีแลนซ์ที่สมัครประกันสังคมมาตรา 40 ได้แก่ เกษตรกร ขายของออนไลน์ นักเขียน Blogger/Youtuber นักติวเตอร์ นักแปลภาษา งานกราฟิกดีไซน์ และงานฟรีแลนซ์อื่นๆ ที่ไม่ขึ้นตรงกับหน่วยงาน องค์กร หรือบริษัทใด ๆ
สิทธิประกันสังคม ยังมีประโยชน์อื่นๆ นอกเหนือข้างต้นที่กล่าวมา เช็คสิทธิประกันสังคมมาตรา 40 ผ่านเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม ได้ที่ www.sso.go.th
ถ้าคุณอยากทำอาชีพฟรีแลนซ์ แต่ไม่อยากรับมือกับความเสี่ยงในอนาคต ประกันสังคมอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ หากเรามองหาประกันตัวอื่นๆ จะช่วยรับมือกับความเสี่ยงในอนาคตเพิ่มเติมจากประกันสังคมที่มีอยู่ ทำให้คุณอุ่นใจตลอดการใช้ชีวิตและการทำงาน แต่ประกันเหล่านี้เป็นความสมัครใจเท่านั้น! สามารถซื้อเพิ่มเติมหรือไม่ขึ้นอยู่กับความต้องการของคุณ หรือไลฟ์สไตล์ในการใช้ชีวิตของคุณเป็นหลัก
ฟรีแลนซ์ มักเป็นสายอาชีพที่ทำงานหนัก พักผ่อนไม่เป็นเวลา บางคนนอนดึกตื่นเช้าเพื่อทำงานให้เสร็จทันเวลา อาจทำให้ร่างกายเจ็บป่วยหรือทรุดโทรม หากคุณซื้อประกันสุขภาพเพิ่มเติมจะช่วยดูแลเรื่องค่ารักษาที่นอกเหนือจากประกันสังคมได้ ทั้งค่าห้องพักรักษาตัวในรพ. ค่าอาหาร ค่ารถพยาบาล และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการรักษา พร้อมนำมาลดหย่อนภาษี2565 ได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี เหมาะสำหรับคนที่ต้องการยื่นลดหย่อนภาษีด้วย
หมายเหตุ: กรณีเจ็บป่วยด้วยโรคทั่วไป มีระยะเวลารอคอย 30 วัน นับจากวันที่ประกันมีผลบังคับ แต่ถ้าเป็นโรคเฉพาะทางหรือโรคร้ายแรงจะมีระยะเวลารอคอย 180 วัน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขแต่ละบริษัทประกัน
สำหรับโรคร้ายแรงที่มีค่ารักษาแพงมาก ประกันสังคมอาจจะไม่ครอบคลุมมากนัก แนะนำให้สายฟรีแลนซ์ทำประกันโรคร้ายแรงเผื่อไว้ก่อน เพราะการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงจะมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ตั้งแต่หลักแสนไปจนถึงหลักล้านเลย
แต่ถ้าเรามีประกันโรคร้ายแรง เมื่อตรวจพบโรคร้ายก็จะได้รับเงินชดเชยเพื่อนำก้อนนั้นไปใช้เป็นค่ารักษาพยาบาล ส่วนใครที่กำลังมองหาประกันโรคร้ายแรง เบี้ยถูก สามารถเข้ามาได้ที่ bolttech.co.th ครอบคลุมไปจนถึง 10 โรคร้ายแรง คุ้มครองโรคมะเร็งทุกชนิดทุกระยะ ทางที่ดีเราควรซื้อไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ เมื่อเรายังมีสุขภาพแข็งแรง
หมายเหตุ: ประกันโรคร้ายแรงจะมีระยะเวลารอคอย 90 วัน หรือมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัทประกัน
ทุกครั้งๆ ที่เกิดอุบัติเหตุ ย่อมมีค่ารักษาตามมาเสมอ บางรายที่เจ็บหนักจำเป็นต้องรักษาตัวในรพ. หยุดงานก็ขาดรายได้เสริม แต่ถ้าคุณมีประกันอุบัติเหตุจะช่วยคุ้มครองค่ารักษาในส่วนนี้โดยไม่ต้องจ่ายเอง บางแผนก็มีเงินชดเชยรายได้ขณะรักษาตัวในโรงพยาบาล รวมถึงเงินชดเชยกรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ
ให้มองไปที่ไลฟ์สไตล์ว่า คุณใช้ชีวิตเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน? เช่น ถ้าคุณจำเป็นต้องเดินทางบ่อย นั่งรถมอเตอร์ไซค์ ก็ให้ซื้อประกันอุบัติเหตุที่ครอบคลุม เลือกวงเงินสูงๆ แต่ถ้าเราเสี่ยงน้อยอาจจะลดจำนวนทุนประกันได้ตามความเหมาะสม
อย่างที่รู้กันดีว่า “อาชีพอิสระหรือฟรีแลนซ์” จะมีรายได้ไม่แน่นอน บางเดือนก็ได้เงินเยอะ ส่วนบางเดือนก็ได้เงินน้อย ดังนั้นชาวฟรีแลนซ์รุ่นใหม่ต้องรู้จักการลงทุน เพื่อเก็บเงินออมไว้ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นประกันเงินออม ประกันออมทรัพย์ ประกันสะสมทรัพย์ ซึ่งเป็นการออมที่ได้ผลตอบแทนในระยะยาว บางแผนได้พ่วงประกันชีวิตเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน หรือจะเก็บเงินออมส่วนหนึ่งไปเป็นกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ นำมาลดหย่อนภาษีได้ ถือเป็นการออมเงินเอาไว้ใช้ยามเกษียณ
เพราะฉะนั้น การมีประกันสังคมอยู่แล้วถือเป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าคุณต้องการเพิ่มทางเลือกในการรักษาพยาบาล หรืออยากได้รับบริการที่ดีกว่าประกันสังคม แนะนำให้ซื้อประกันสุขภาพ ประกันโรคร้ายแรง หรือ ประกันอุบัติเหตุ เพราะประกันเหล่านี้เป็นตัวช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายต่างๆ เมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันได้ เหมาะสำหรับสายอาชีพฟรีแลนซ์โดยเฉพาะ