ความดันโลหิตสูง หนึ่งโรคยอดฮิตที่พบมากที่สุดของคนไทย มักเกิดจากอาหารที่มีไขมันสูง อาหารที่มีรสชาติเค็ม จนสะสมในร่างกายไปเรื่อยๆ ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง เสี่ยงต่อโรคอื่นๆ ตามมาอย่างโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดตีบ โรคไตวายเรื้อรัง เป็นต้น ซึ่งวิธีลดความดันโลหิตสูงทำง่ายๆ ด้วยการปรับอาหารการกิน เช่น ทานอาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ จะช่วยลดความดันโลหิตสูงได้
ข้าวกล้อง อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ มีส่วนช่วยลดความดันโลหิตสูงได้ อย่างเช่น ข้าวกล้องงอกสีนิล ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวสังข์หยด จะมีวิตามินต่างๆ และมีคาร์โบไฮเดรตน้อยกว่าข้าวขัดสี ช่วยลดไขมันและน้ำตาลในเลือด เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน และป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs) อีกด้วย
สำหรับผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง ควรเน้นทานไขมันดี (HDL) เช่น น้ำมันเมล็ดฟักทอง อัลมอนด์ อะโวคาโด ปลาทะเลที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูงอย่างเช่น แซลมอน แมคเคอเรล ทูน่า ซาร์ดีน ถั่ว และธัญพืชต่างๆ โดยไขมันดีจะเป็นไขมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง เต็มไปด้วยกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย ลดคอเลสเตอรอลไม่ดี เพิ่มการไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น ช่วยลดความดันโลหิตสูง ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และโรคหลอดเลือดหัวใจได้
เพราะผักจะอุดมไปด้วยโพแทสเซียมและแมกนีเซียม เช่น มะเขือเทศ แครอท บร็อคโคลี่ ผักโขม เต็มไปด้วยแร่ธาตุ โพแทสเซียม แมกนีเซียม และใยอาหาร นอกจากนี้ควรเน้นทานผลไม้ที่มีประโยชน์ เช่น กล้วย ส้ม สตรอเบอรี่ แอปเปิ้ล จะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุด้วย ช่วยขยายตัวของหลอดเลือดทำให้ความดันโลหิตลดลง
ถือเป็นแหล่งโปรตีนที่มีไขมันอิ่มตัวต่ำ สามารถทานเต้าหู้และถั่วเหลืองทดแทนเนื้อสัตว์ ดีต่อระบบการทำงานของหัวใจ ลดคอเลสเตอรอลที่จะได้รับจากเนื้อสัตว์ ควบคุมความดันโลหิตสูง ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานดี ป้องกันความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ และเพื่อนๆ สามารถทำเมนูอาหารได้หลายเมนูด้วยนะ
กระเทียม เป็นอีกหนึ่งวัตถุดิบอาหารที่คนนิยมใช้ทำอาหาร สรรพคุณลดความดันโลหิตสูง เพราะกระเทียมจะมีปริมาณสารไนตริกออกไซด์ในร่างกาย จะช่วยกระตุ้นหลอดเลือดให้ขยายตัว ทำให้ควมดันโลหิตลดลง แต่ควรทานในปริมาณที่เหมาะสมต่อร่างกาย วิธีการรับประทานให้ซอยกระเทียมสดประมาณครึ่งช้อนชา ทานพร้อมอาหารวันละ 2-3 ครั้ง หรือจะทานสดหลังมื้ออาหาร แต่ไม่ควรทานตอนท้องว่าง เพราะกระเทียมมีฤทธิ์ร้อนอาจทำให้แสบกระเพาะได้
นอกจากเลือกทานอาหารสุขภาพแล้ว เราควรควบคุมปริมาณโซเดียมในอาหารด้วย เช่น อาหารแปรรูป เครื่องปรุงรสเค็ม และหลีกเลี่ยงใช้ผงชูรส เพราะหากบริโภคโซเดียมที่เกินปริมาณจะทำให้ไตเสื่อมสภาพ เสี่ยงไตวาย และส่งผลต่อความดันโลหิตสูง ดังนั้นผู้ที่มีความดันโลหิตสูงไม่ควรได้รับโซเดียมเกิน 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน
ดังนั้นเราควรปรับเปลี่ยนอาหารการกิน ควบคุมอาหาร ดูแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม จะช่วยลดความดันโลหิตสูง คอเรสเตอรอลได้ และออกกำลังกายอย่างน้อยๆ 2 ครั้ง/สัปดาห์ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ นอนหลับให้เพียงพอ ทำให้คุณมีสุขภาพแข็งเเรง ไม่เสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง พร้อมใช้ชีวิตอยู่กับคนที่คุณต่อไป