Bolttech Insurance Broker
LinePhone

พ.ร.บ. รถยนต์ทำไมกฎหมายต้องบังคับให้ทำ?

อ่านเร็วๆ

  • พ.ร.บ.เป็นประกันภัยภาคบังคับที่กฎหมายจราจรทางบกให้รถทุกคันต้องทำก่อนต่อภาษีรถยนต์ประจำปีเพื่อดูแลค่ารักษาพยาบาลคนเจ็บหรือเสียชีวิตได้ทันทีเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางถนนขึ้น
  • ประกันภัยรถยนต์ของประเทศไทยแบ่งออกเป็น ประกันภาคบังคับ คือ พ.ร.บ.รถยนต์ และประกันภาคสมัครใจ คือประกันรถยนต์ชั้นต่างๆ
  • ถ้ารถที่มาชนเราไม่มี พ.ร.บ.เรายังได้รับการดูแลจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย
  • ค่ารักษาพยาบาลที่เกินจาก พ.ร.บ.จะค่าใช้จ่ายที่เป็นประกันภาคสมัครใจดูแลต่อตามทุนประกันของประกันแต่ละประเภท

 
สาเหตุที่ทุกๆ ปีเราต้องต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ให้เรียบร้อยก่อนถึงจะต่อภาษีรถยนต์ประจำปีได้นั้น เนื่องจากเป็นกฎหมายจราจรครับ ชื่อเต็มๆ ของ พ.ร.บ.นั้นคือ “พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ” มีฉบับแรกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เป็นต้นมาเพื่อทั้งคุ้มครองสิทธิและดูแลประชาชนทุกคนที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถให้รับการรักษาพยาบาลทันทีเมื่อเกิดเหตุขึ้น, เป็นหลักประกันให้โรงพยาบาลให้ความช่วยเหลือคนเจ็บว่าจะได้รับค่ารักษาอย่างแน่นอน, เป็นสวัสดิการให้กับคนไทยทุกคน และส่งเสริมการใช้การประกันภัยเข้ามาแก้ปัญหาให้เกิดประโยชน์ที่สุดครับ
 
Why-the-traffic-law-enforce-to-do-CTPL
 

ประกันภัยรถยนต์ของประเทศไทย

 
อย่างที่เรารู้กันแล้วว่าประกันรถยนต์แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ ประกันภัยภาคบังคับก็คือ พ.ร.บ. รถยนต์เพื่อดูแลการรักษาพยาบาลคนเจ็บหรือผู้เสียชีวิต และประกันภัยภาคสมัครใจ ซึ่งก็คือประกันชั้นรถยนต์ชั้น 1, 2+, 3 และ 3+ นั่นเองครับ ทีนี้ถ้าเราจอดรถทิ้งไว้นานไม่ได้ต่ออะไรทั้งสิ้นจะขับรถยนต์ซักคันให้ถูกกฎหมายจะต้องมีเอกสารอะไรก่อนหลัง? หรือมีขั้นตอนอย่างไรบ้างมาดูกันครับ
 
1.ใบขับขี่รถยนต์ ก่อนที่จะขับรถได้ก็ต้องมีใบขับขี่ก่อนนะครับ เราก็ต้องไปสอบใบขับขี่ที่สำนักงานขนส่งของแต่ละจังหวัด ถ้าที่กรุงเทพก็จะเป็นกรมการขนส่งทางบกแถวจตุจักรนะครับ
2.เอกสารคู่มือรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นเล่มจริงหรือสำเนาต้องมีติดรถไว้นะครับ เพื่อแสดงที่มาของรถเวลาที่เจ้าหน้าที่ตำรวจขอตรวจได้
3.พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นเอกสารที่เกี่ยวกับการประกันภัยแรกสุดที่เราต้องทำก่อนเลยครับ เพื่อจะได้ต่อทะเบียนรถได้ ถ้าพ.ร.บ.ขาดจะโดนค่าปรับหฤโหดหลักหมื่นบบาทเลยนะครับ
4.ใบรับรองการตรวจสภาพรถ  ถ้ารถยนต์มีอายุเกิน 7 ปีจากสถานที่ตรวจสถาพรถเอกชนมราได้รับอนุญาต (ต.ร.อ.) แต่ถ้าขาดต่อทะเบียน 1 ปี ต้องตรวจที่กรมการขนส่งทางบกเท่านั้นนะครับ
5.ต่อทะเบียนรถยนต์ (เสียภาษีรถยนต์ประจำปี) เป็นการจ่ายภาษีรถยนต์ทุกปีสำหรับรถทุกคันที่จะใช้งานบนถนนครับซึ่งจะต่อทะเบียนได้ต้องมี พ.ร.บ. (หรือใบตรวจสภาพรถถ้ารถเกิน 7 ปี) ให้เรียบร้อยก่อนและถ้าไม่ต่อทะเบียนแล้วเอามาขับจะผิดกฎหมายโดนค่าปรับร้อยละ 1 ต่อเดือนสะสมไปเรื่อยๆ ครับ
6.ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ (ถ้าต้องการความคุ้มครองเพิ่ม) ข้อนี้ไม่บังคับให้ทำแต่เรามักจะสมัครใจทำเองเพื่อช่วยดูแลค่าใช้จ่ายที่ซ่อมรถและค่ารักษาพยาบาลเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น
 

ความคุ้มครองของพ.ร.บ.

 
เรามีของดีที่ช่วยดูแลค่ารักษาพยาบาลคนเจ็บเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันกขึ้นอยู่แล้วนะครับ ในความเห็นของ Frank เรียกว่าเป็นสวัสดิการให้กับคนไทยทุกคนเลยก็ว่าได้ แต่หลายคนยังค่อยรู้ว่า พ.ร.บ. คุ้มครองอะไรบ้าง เลยขอแบ่งตามการได้รับความคุ้มครองใหม่ตั้งแต่ 1 เม.ย. 2559 เป็นต้นไปนะครับเพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้น
 

1.ความที่คุ้มครองที่ได้รับทันที

 
หรือเรียกว่า “ค่าความเสียหายเบื้องต้น” ไม่ต้องรอดูว่าใครผิดหรือถูก เพราทุกๆ คนควรได้รับการรักษาพยาบาลทันทีเมื่อเกิดเหตุ รวมแล้วไม่เกิน 65,000 บาท
 
-ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ ตามค่าใช้จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท  
-กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร จ่าย 35,000 บาท
 

2.ความคุ้มครองที่ได้รับหลังจากพิสูจน์ผิด-ถูกแล้ว

 
หลังจากการพิสูจน์แล้วว่าเราเป็นฝ่ายถูก จะได้รับเงินค่าเสียหายที่เกินจากความเสียหายเบื้องต้นตามนี้นะครับ
 
-ค่ารักษาพยาบาลจากตามจริงจากการบาดเจ็บ เพิ่มเติมไม่เกิน 80,000 บาท  
-กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร เพิ่มเติม 300,000 บาท
-กรณีสูญเสียอวัยวะ ตามแต่ละกรณี 200,000-300,000 บาท
-ค่าชดเชยการรักษาตัว (ผู้ป่วยใน) 200 บาท / วัน ไม่เกิน 20 วัน รวม 4,000 บาท
จำนวนเงินคุ้มครองสูงสุดรวมกันต้องไม่เกิน 304,000 บาท
 
และวงเงินคุ้มครองความรับผิดสูงสุดที่คงไว้ตามคงวามคุ้มครองเดิมที่
-ความรับผิดสูงสุดต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้งสำหรับรถยนต์ไม่เกิน 7 ที่นั่ง ไม่เกิน 5,000,000/ ครั้ง
-ความรับผิดสสูงสุดต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้งสำหรับรถยนต์เกิน 7 ที่นั่ง 10,000,000 / ครั้ง
 
อ่านแล้วแชร์เป็นข้อมูลบอกต่อกันได้เลยนะครับ เพราะเราควรจะรู้ว่าเรามีสิทธิอะไร ใช้สิทธิอะไรได้บ้างเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นโดยเฉพาะคนที่ต้องเดินทางเป็นประจำครับ
 
Why-the-traffic-law-enforce-to-do-CTPL
 

ถ้ารถที่มาชนเราไม่มี พ.ร.บ. ทำไงดี?

 
นอกจากนี้แล้วยังเห็นหลายเคสที่ถามกันใน Pantip ทั้งในกรณีที่เราโดยชนด้วยรถที่ไม่ไม่ พ.ร.บ.หรือกรณีที่โดนรถชนแล้วหนีแล้วได้รับบาดเจ็บก็เช่นเดียวกันนะครับ เคสนี้เราติดต่อ “กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย” ที่จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2535 เพื่อดูแลค่ารักษาเบื้องต้นได้ตามรายละเอียดด้านล่างเลยครับ
 

โดนชนแล้วหนี

-รักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บตามจริงหรือไม่เกิน 30,000 บาท กรณีเสียชีวิต 35,000 บาท จากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย
 

โดนชนด้วยรถที่ไม่มี พ.ร.บ.

-รักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บตามจริงหรือไม่เกิน 30,000 บาท กรณีเสียชีวิต 35,000 บาท (ถือเป็นอย่างน้อยที่ต้องไม่ต่ำกว่ากฎหมายกำหนด) จากเจ้าของรถ และเจ้าของรถต้องจ่ายคืนกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยพร้อมเงินเพิ่มร้อยละ 20 จากเจ้าของรถภายใน 7 วัน
 
โดยที่ระยะเวลาที่เราต้องทำเรื่องให้เรียบร้อยภายใน 180 วันนับจากวันที่เกิดเหตุได้ที่บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจำกัดได้ทั้งเหตุจากรถยนต์และรถจักรยานยนต์ หรือโทรสอบถามได้ที่ 02-100-9191 ได้นะครับ
 
ต่อประกันให้เรียบร้อยก่อนใช้รถเพราะอุบัติเหตุไม่เคยเตือนเราล่วงหน้าครับ เช็คเบี้ยประกันออนไลน์ได้ที่นี่นะครับ
 

Credit: http://www.oic.or.th/th, https://pantip.com, https://www.dlt.go.th

 
 

frank.co.th

เชื่อมต่อ กับพวกเรา

รับข่าวสารล่าสุดและข้อเสนอโดยติดตามเราในช่องโปรดของคุณ
LineFacebook
Bolttech
บริษัท โบลท์เทค อินชัวร์นส์ โบรคเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
ใบอนุญาตินายหน้าประกันภัยหมายเลข
00017/2559
หมายเลขจดทะเบียนนิติบุคคล
0105559056161
รับรองความปลอดภัย และ อยู่ภายใต้ความควบคุม ของ
GeoTrustDBDOffice of Insurance Commission
Security & Compliances
GeoTrustDBDOffice of Insurance Commission
bolttech © 2021 All Rights Reserved.