Bolttech Insurance Broker
LinePhone

Midlife crisis พิชิตวิกฤตการเงิน สำหรับวัยกลางคน

หลังจากตรากตรำทำงานกันมาหลายปี เหล่าวัยรุ่นสร้างตัวทั้งหลายก็เริ่มเข้าสู่ “วัยกลางคน” ตามวัฎจักรของชีวิต ซึ่งเมื่ออายุเข้าเลข 3 ความกังวลต่างๆ ก็ดูเหมือนจะทวีความรุนแรงขึ้น
หนึ่งในนั้นก็หนีไม่พ้นความรู้สึกหวาดหวั่นด้านความมั่งคั่ง มั่นคง จนบางครั้งหลายคนอาจเข้าขั้นวิตกจริต จนทำให้เกิดเป็นช่วงชีวิตที่เรียกว่า “Mid-Life Crisis หรือ วิกฤตวัยกลางคน” ขึ้นมา โดยส่วนใหญ่มักเริ่มตระหนักอย่างจริงจังแล้วว่า ตนเองมีเงินออมเพียงเล็กน้อย หรือแม้แต่ยังไม่มีเงินออมเลยก็มี แน่นอนว่าปัญหาดังกล่าว ย่อมส่งผลกระทบต่อชีวิตหลังจากนี้ที่ต้องเดินหน้าสู่สถานี ‘วัยเกษียณ’ ต่อไป
อย่างไรก็ตามนี่อาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีก็ได้ เพราะเราเริ่มมองเห็นปัญหาแล้ว ดังนั้นสิ่งที่ควรทำลำดับถัดไป หลังจากตกใจกับเงินในบัญชีของตัวเองก็คือการแก้ปัญหานั่นเอง โดยวิธีการแก้ปัญหา เพื่อพิชิตวิกฤตการเงิน สำหรับวัยกลางคนนั้น อาจเริ่มต้นได้ง่ายๆ จากเคล็ดไม่ลับ 3 ข้อนี้

1. เช็คหนี้สินที่คงเหลือดูก่อน

ในวัยเลข 3 คงเป็นไปยาก ถ้าเราไม่ก่อหนี้อะไรเลย ดังนั้น เราควรเริ่มต้นจากกางรายจ่ายหนี้สินทั้งหมดออกมา เช่น ค่าผ่อนรถ ค่าผ่อนบ้าน ค่าเงินกู้ยืมเรียน หรือแม้แต่หนี้สินอื่นๆ ที่คนในครอบครัวสร้างไว้ และทำให้เราต้องรับภาระแทน จากนั้นก็นำมาเรียงลำดับ จำนวนปีที่ต้องผ่อนชำระ พร้อมกับยอดที่ต้องชำระต่อเดือน ซึ่งแม้จะดูน่าตกใจว่า ทำไมเราหนี้สินเยอะขนาดนี้ก็ไม่เป็นไร เพราะการกระทำเช่นนี้จะทำให้เราเห็นว่า หนี้บางอย่าง เราอาจชะลอการจ่าย หรือสามารถชำระหมดได้ภายในระยะเวลาเท่าไร

2. ตั้งเป้าหมายทางการเงินแบบระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว

การตั้งหน้าตั้งหน้า ใช้ชีวิตอย่างสนุกสุดเหวี่ยงในทุกๆ วัน หรือทำงานเพื่อใช้หนี้เพียงอย่างเดียว หรือแม้แต่การไม่มีเป้าหมายอะไรเลย จะยิ่งทวีวิกฤติด้านความรู้สึกกังวลให้มากขึ้น เพราะเราจะเริ่มเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น จนรู้สึกว่า เราน่าจะทำแบบเขา หรือเรากำลังเดินทางผิด เป็นต้น

ดังนั้น เราจึงควรกำหนดเป้าหมายทางเงินขึ้นมาสัก 3 อย่าง โดยแบ่งเป็น

  • ระยะสั้น เช่น เก็บเงินไปเที่ยวใน/ต่างประเทศ, ระยะกลาง เช่น เก็บเงินเพื่อใช้หนี้ หรือเก็บเงินไว้เพื่อลงทุนธุรกิจที่ตัวเองสนใจ โดยหาข้อมูลคร่าวๆ ว่าควรให้งบประมาณเท่าไร
  • ระยะยาว เช่น เก็บเงินเพื่อซื้อบ้าน หรือเรียนต่อต่างประเทศ เป็นต้น

3. ออมเงินตามความเหมาะสม

แม้นักวิเคราะห์จะแนะนำให้เราเริ่มออมเงินเมื่อเริ่มทำงาน (อายุ 25 ปี) โดยออมตั้งแต่ 10% ของรายได้ และขยับไปเป็น 15% ของรายได้ เมื่ออายุ 35 ปี เพื่อที่จะได้เกษียณอายุตอน 65 ปีอย่างสบายใจ แต่เชื่อเถอะว่าเมื่อคนส่วนใหญ่เริ่มมีรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น (ในขณะที่อายุ 35 ปี) พวกเขากลับออมเงินได้น้อยลง เพราะด้วยหลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น เมื่อคนเรามีรายได้มากขึ้น ก็มักจะมีรายจ่ายที่สูงขึ้นตามไปด้วย และหากในกรณีที่รายได้ลดลง ก็กลับไม่ค่อยลดรายจ่าย แต่เลือกที่จะลดการออมลง ดังนั้นสิ่งสำคัญคือ เราต้องยึดเป้าหมายทางการเงินที่ตั้งไว้ให้ขึ้นใจ และพยายามเก็บเงินให้เหมาะสมกับเป้าหมายนั้นๆ นั้นเอง
ขอบคุณข้อมูลจาก moneyhub.in.th
Rewrite by Butter Cutter

Butter Cutter

เชื่อมต่อ กับพวกเรา

รับข่าวสารล่าสุดและข้อเสนอโดยติดตามเราในช่องโปรดของคุณ
LineFacebook
Bolttech
บริษัท โบลท์เทค อินชัวร์นส์ โบรคเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
ใบอนุญาตินายหน้าประกันภัยหมายเลข
00017/2559
หมายเลขจดทะเบียนนิติบุคคล
0105559056161
รับรองความปลอดภัย และ อยู่ภายใต้ความควบคุม ของ
GeoTrustDBDOffice of Insurance Commission
Security & Compliances
GeoTrustDBDOffice of Insurance Commission
bolttech © 2021 All Rights Reserved.