สวัสดีครับ ! มนุษย์เงินเดือนทั้งหลาย หลังจากที่เราได้บอกเล่าเรื่องราวเช็คประกันสังคม ด้วยวิธีการชิลที่สุดในโลก โดยบอกเล่าเรื่องราวการเช็กสิทธิประกันสังคมตามยุคดิจิทัลกันไปแล้ว หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับประกันสังคมว่างงานว่า “ขอเงินชดเชยกรณีลาออกจากประกันสังคมอย่างไร ? รวมถึงวิธีแจ้งว่างงานประกันสังคม” วันนี้ขออาสาให้คำตอบอีกครั้งนะครับ
อย่างที่ทราบว่า ผู้ที่ส่งเงินประกันสังคมเป็นประจำทุกเดือน หากคุณว่างงานกรณีลาออกจากงานที่ทำอยู่ก็จะได้รับเงินชดเชยก้อนนี้ ซึ่งเป็นสิทธิประโยชน์พื้นฐานที่ผู้ประกันตนจะได้รับอยู่แล้ว และคงต้องขอย้ำว่า เราจะต้องดำเนินเรื่องขอเงินชดเชยประกันสังคมว่างงานด้วยตัวเองนะครับ เพราะเป็นสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนต้องดูแลเอง หากเราไม่ดำเนินเรื่องภายใน 30 วัน เราก็อาจจะเสียสิทธิ์ประกันสังคมว่างงานโดยไม่รู้ตัวเลยนะ
“ต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วันนับแต่วันที่ว่างงาน โดยไม่ต้องรอหนังสือรับรองการออกจากงาน เพื่อเป็นการแสดงสิทธิ์ในเบื้องต้น” อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม จังหวัดราชบุรี
หากรายงานตัวช้ากว่า 30 วันนั้น ผู้ประกันตนสามารถขึ้นทะเบียนในระบบได้ แต่จะได้รับเงินชดเชยว่างงานประกันสังคมน้อยลง หรือไม่สามารถขอได้เลยก็มีนะครับ เอาเป็นว่ารักษาสิทธิประกันสังคมให้ดีๆ
หมายความว่า ขอสิทธิประกันสังคมว่างงานได้ โดยจะต้องส่งเงินสมทบประกันสังคมอย่างน้อยครึ่งปี หรือไม่ถูกให้ออกจากงานด้วยความผิดตามกฎหมาย เช่น ทำผิดกฎหมายอาญา, ทุจริต, จงใจให้นายจ้างได้รับความเสียหาย, ละทิ้งหน้าที่การทำงาน 7 วันติดต่อกันโดยไม่มีเหตุจำเป็น, ได้รับโทษตามกฎหมาย ฯลฯ หากคุณทำตามที่เล่ามาข้างต้น จะไม่สามารถขอเงินส่วนนี้ได้นะครับ
รับรู้รายละเอียดสิทธิประโยชน์ประกันสังคมว่างงานที่ผู้ประกันตนจะได้รับแบบเบื้องต้นกันแล้ว ในส่วนวิธีแจ้งว่างงานจะต้องทำอย่างไร มาอ่านแบบรวบรัดเข้าใจง่าย ๆ กันเถอะ
“ก็ยุคดิจิทัลอ่ะเน๊าะ!” (เสียงแบบพี่ปาล์มมี่) การดำเนินเรื่องก็ยิ่งง่ายไปอีก ก่อนที่จะเดินทางสู่ไปสำนักงานประกันสังคมใกล้บ้าน เราจะต้องยื่นเอกสารประกันสังคมเพื่อขอแบบฟอร์ม สปส 2-01/7 (สามารถกรอกเอกสารได้ที่ empui.doe.go.th) วิธีการขอสิทธิประกันสังคมว่างงานไม่ยากเลยครับ
ขอบคุณภาพจาก empui.doe.go.th
ลงทะเบียนว่างงานประกันสังคมออนไลน์แล้ว… เตรียมเอกสารต่อครับ! ซึ่งเอกสารอย่าให้ขาดเหลือนะครับ และให้เดินทางยื่นเอกสารขอรับสิทธิ์ประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานที่สำนักงานประกันสังคมทุกแห่งทั่วประเทศ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารว่ามีสิทธิ์เบิกเงินชดเชยประกันสังคมว่างงาน กรณีลาออกได้จริง ๆ หรือไม่
เตรียมให้ครบและยื่นกับทางเจ้าหน้าที่เลยครับ เมื่อคุณสมบัติครบ สำนักงานประกันสังคมทำการโอนเงินผ่านทางบัญชีธนาคารที่เราส่งให้เดือนละ 1 ครั้ง โดยจะได้เงินเข้าบัญชีที่ยื่นเรื่องไว้
หลังจากดำเนินเรื่องเสร็จ!! ถึงคิวเช็คเงินว่างงานประกันสังคม ดูตารางนัดรายงานตัวของผู้ประกันตนออนไลน์ให้ดี หากกลัวพลาด แนะนำจดในปฏิทินหรือตั้งเตือนในมือถือไว้เลยครับ เพราะเราจะต้องรายงานผ่านเว็บไซต์เดือนละครั้ง “อย่าให้ขาดนะครับ” ซึ่งการรายงานตัวจะมีทุก ๆ 30 วัน แล้วที่สำคัญอย่าลืมเช็คเงินประกันสังคมว่างงานด้วย
ข้อดี คือ เราสามารถรายงานตัวออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ทันทีแบบไม่เสียเวลาเดินทางมาสำนักงานเลยล่ะ
ข้อควรรู้คือเราสามารถกดรายงานตัวก่อนกำหนด 7 วัน หรือหลังกำหนด 7 วัน รวมวันหยุดเสาร์อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เช่น วันรายงานตัวคือ 1 พฤษภาคม เราจะเข้าระบบเพื่อรายงานตัวตั้งแต่วันที่ 24-30 เมษายน หรือจะกดรายงานตัวไม่เกินวันที่ 8 พฤษภาคมก็ได้
ป้องกันการหลงลืมหรือตกหล่น !! แนะนำให้รายงานตัวขอเงินชดเชยแต่เนิ่น ๆ ดีกว่านะจ้ะ และผู้ว่างงานสามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้อีก 6 เดือน โดยไม่ต้องจ่ายเงินสมทบ สรุปว่า ลาออกจากงานก็อย่าลืมขอเงินชดเชยประกันสังคมกรณีว่างงานด้วยนะครับ พอหลังจากรายงานตัวประกันสังคมว่างงานแล้ว อย่าลืมเช็คเงินว่างงานประกันสังคมออนไลน์ที่เว็ปไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th ด้วยนะจ๊ะ เราจะเห็นสถานะปัจจุบัน และยอดเงินจากประกันสังคมกรณีว่างงาน พร้อมวันที่อนุมัตินั่นเอง
เอาเป็นว่า เข้าใจสิทธิประกันสังคมว่างงานแล้วว่า จ่ายทุกเดือนก็มีความคุ้มช่วยเหลืออยู่นะ หากอยากเพิ่มความคุ้มครองให้กับชีวิต สนใจซื้อประกันเพิ่มเติม สามารถซื้อประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) ไว้ดูแลหากเกิดเหตุไม่คาดฝันได้นะครับ จ่ายเงินเสร็จพร้อมรับกรมธรรม์ทันที ! หรือสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับเราได้เลย
ผู้ประกันตนจะได้รับเงินชดเชยว่างงานประกันสังคม ปีละไม่เกิน 90 วัน หรือ 3 เดือนละครับ คิดเป็น 30% ของค่าจ้างเฉลี่ยฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท เช่น เราเงินเดือน 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 3,000 บาทครับ จากตามที่ยกตัวอย่างนั้นเป็นเพียงค่าเฉลี่ยเท่านั้น อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
Content by Butter Cutter