ถูกเลิกจ้างตามปกติทั่วไป เราได้เงินทดแทนตอนที่ยังว่างงาน รับเงินชดเชย 6 ครั้ง ตลอดระยะเวลา 6 เดือน อยู่ที่ 50% ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบ 15,000 บาทไม่มากกว่านี้ครับ
สรุปว่า โดนไล่ออกจากงานเราจะได้เงินจากประกันสังคม ไม่เกิน 7,500 บาทต่อเดือน ซึ่งแต่ละเดือนได้เงินไม่เท่ากันนะจ้ะ และเรายังได้รับความคุ้มครองจากประกันสังคมต่ออีก 6 เดือน และคุณจะต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงาน ต้องรายงานตัวออนไลน์กับเจ้าหน้าที่สำนักงานจัดหางานไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อรับเงินชดเชยครับ
จริงอยู่ที่ประกันสังคมจะเยียวยาทุกอย่าง แต่ไม่ใช่ทุกเคสนะเพราะยังมีการถูกเลิกจ้างบางประการที่ประกันสังคมไม่จ่ายเงินเยียวยาอยู่นะ และ Frank.co.th ขอสรุปเล่าให้ฟังดังนี้
“ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน” หากทุจริตต่อหน้าที่กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง ข้อบทกฎหมายนี้ตีความค่อนข้างกว้างเลยครับ ส่วนใหญ่จะหมายความถึง พนักงานที่โกงเงิน การแสวงหาผลประโยชน์กับบริษัทฯ หรือยักยอกเงินบริษัทฯ ไปเป็นเงินของตัวเอง ถือเป็นการทำทุจริตผิดกฎหมายหากถูกจับได้ก็ต้องโดนดำเนินคดีอยู่แล้ว หากคุณผิดและโดนให้ออกจากงานเพราะกรณีนี้หมดหวังได้เงินชดเชยประกันสังคมครับ
แปลตรงตัวเลยครับ หากพนักงานมีเจตนาจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ถ้าโดนไล่ออกแบบนี้ประกันสังคมไม่จ่ายเช่นกัน
เชิงตีความค่อนข้างอธิบายยากเหมือนกันนะครับ เนื่องจากขึ้นอยู่กับการพิจารณาเป็นหลักเลยแหละ ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายในกรณีร้ายแรง ในกรณีทำผิดระเบียบหรือฝ่าฝืนผิดปกติธรรมดา นายจ้างจะต้องส่งจดหมายตักเตือนเป็นหนังสือก่อน หากยังทำผิดซ้ำ ตรงนี้นายจ้างถึงจะมีสิทธิ์เลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้
อยู่ดี ๆ ก็หายไลน์ไม่ตอบ หายยาวหายไปเลย 1 สัปดาห์ ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่เหตุอันควร กรณีนี้ก็จะโดนให้ออกจากงาน อดได้เงินชดเชยว่างงานนะคร้าบ เป็นเรื่องไม่ดี ไม่ควรทำ เพราะส่งผลเสียประวัติการทำงานด้วยนะ
กรณีถูกให้ออกจากงาน เพราะประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ประกันสังคมอาจจะไม่จ่ายค่าชดเชยให้คุณนะครับ ด้วยภาษากฎหมายอาจจะเข้าใจยากไปหน่อยว่า “ประมาทเลินเล่อ” มันคืออะไรกันแน่ และบางครั้งนายจ้างใช้กล่าวอ้างเพื่อเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ไม่จ่ายเงินเดือน
เอาเป็นว่า เพื่อความชัดเจน Frank.co.th ขอหยิบยกบทความของคุณพรเทพ ทวีกาญจน์ ผู้บริหารสำนักทรัพยากรบุคคล บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ที่บอกเล่าเรื่องราวไว้ว่า คำว่า “ประมาทเลินเล่อ” หมายถึง การกระทำซึ่งบุคคลพึงคาดหมายได้ว่าอาจก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น และหากใช้ความระมัดระวังเพียงเล็กน้อยก็อาจป้องกันมิให้เกิดความ เสียหายได้แต่กลับละเลย
แปลง่าย ๆ คือ ประมาทเลินเล่อเนี้ยะ คือ การที่รู้ว่าจะเกิดความเสียหาย แต่ก็ยังทำ ปล่อยละเลยตามยถากรรม ไม่แคร์ ปล่อยให้เสียหายแก่ชีวิต และทรัพย์สิน จนทำให้นายจ้างเสียหายร้ายแรงครับ
ตัวอย่าง พนักงานขับรถผู้บริหารตั้งใจขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดจนทำให้เกิดความเสียหาย และทำให้ผู้บริหารบาดเจ็บครับ หากโดนให้ออกงานด้วยกรณีนี้ ประกันสังคมอาจจะไม่จ่ายค่าชดเชยให้คุณนะ
แน่นอนว่า ถ้าต้องโทษคดี และได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา ไม่สามารถรับเงินชดเชยลาออกจากงาน หรือชดเชยว่างงานได้นะครับ ข้อนี้คงเข้าใจกันดีไม่ต้องอธิบายให้ยืดยาวเนาะ และทั้งหมดนี้ก็เป็นกรณีศึกษาที่ไม่ควรทำ เกี่ยวกับการโดนไล่ออกประกันสังคมไม่จ่ายครับผม หากสนใจอ่านบทความอื่น ๆ Frank.co.th ก็มีไว้ให้คุณนะ
ขอบคุณข้อมูลจาก sso.go.th,tpa.or.th, jobbkk.com