โรคหัวใจ หนึ่งในโรคร้ายแรงยอดฮิตของคนไทย และมีสถิติในการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของโลก โรคหัวใจสามารถแบ่งเป็นกลุ่มโรคย่อยต่างๆ ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และโรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ แต่ละโรคนั้นมีค่ารักษาพยาบาลแพงมาก จะมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง? มาดูคร่าวๆ กันเลย
เป็นวิธีการขยายหลอดเลือดหัวใจที่ได้รับความนิยม ไม่ต้องผ่าตัด โดยแพทย์จะสอดสายสวนหัวใจที่เป็นท่ออ่อนที่มีบอลลูนขนาดเล็กตรงปลายเข้าไปทางหลอดเลือดที่ขาหรือแขน เมื่อถึงบริเวณที่หลอดเลือดตีบจึงต่อสายบอลลูนเข้ากับเครื่องมือที่อยู่ภายนอกร่างกาย เพื่อดันให้บอลลูนขยายออก เบียดคราบไขมันหินปูนที่เกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือดให้ยุบแบนลงและขยายหลอดเลือดให้กว้างออก เพื่อช่วยให้เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้
เริ่มต้นประมาณ 110,000 บาท
หมายเหตุ: ค่าใช้จ่ายอาจมีการเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับโปรโมชันและแพ็กเกจแต่ละโรงพยาบาล
เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อกระตุ้นจังหวะการเต้นของหัวใจ ลดปัญหาจังหวะการเต้นของหัวใจที่ช้ากว่าที่ควร เพราะผู้ป่วยบางรายมีจังหวะหัวใจที่เต้นช้ากว่าปกติ โดยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ จะช่วยให้หัวใจเต้นเร็วพอที่จะสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะอื่นๆ ของร่างกายได้
ประมาณ 18,000 – 436,000 บาท
หมายเหตุ: ค่าใช้จ่ายอาจมีการเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับโปรโมชันและแพ็กเกจแต่ละโรงพยาบาล
การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียม เป็นวิธีการรักษาช่วยผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ คือการผ่าตัดกึ่งกลางหน้าอก พร้อมกับตัดกระดูกเพื่อเข้าไปแก้ไขลิ้นหัวใจ และต้องใช้เวลาในการพักฟื้นประมาณ 3 เดือนจนกว่าร่างกายจะกลับมาเป็นปกติ
แต่ปัจจุบันนี้มีการรักษาเปลี่ยนลิ้นหัวใจ โดยไม่ต้องผ่าตัด ด้วยวิธีการเทคนิคส่องกล้อง แผลเล็กลดลงเหลือเพียง 4-5 เซนติเมตร ไม่ต้องนอนโรงพยาบาลนาน ใช้เวลาพักฟื้นประมาณ 1 เดือน
เริ่มต้นประมาณ 130,000 บาท ไปจนถึงหลักล้านบาท
หมายเหตุ: ค่าใช้จ่ายอาจมีการเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับโปรโมชันและแพ็กเกจแต่ละโรงพยาบาล
เป็นวิธีการรักษาหลอดเลือดหัวใจด้วยการผ่าตัด ทำได้ใน 3 รูปแบบได้แก่ การผ่าตัดบายพาสหัวใจแบบใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม การผ่าตัดบายพาสหัวใจโดยไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม การผ่าตัดบายพาสหัวใจแบบแผลเล็ก โดยแต่ละวิธีการรักษาต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ หากต้องเข้ารับการผ่าตัดบายพาสหัวใจ ผู้ป่วยจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมให้ดี และอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
เริ่มต้นประมาณ 550,000 บาท
หมายเหตุ: ค่าใช้จ่ายอาจมีการเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับโปรโมชันและแพ็กเกจแต่ละโรงพยาบาล
ทางแพทย์จะตรวจวินิจฉัยโรคก่อน โดยการพิจารณาการรักษาด้วยการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย ขนาดหลอดเลือดแดงเอออร์ต้าใหญ่ที่โตเสี่ยงต่อการปริแตก หรือหลอดเลือดแดงใหญ่ที่โตเร็วผิดปกติ ซึ่งการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดต้องอาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง สถานที่ และความพร้อมในการให้เลือด เป็นต้น
แต่ถ้าหลอดเลือดเอออร์ต้ามีขนาดไม่ใหญ่ถึงขั้นที่ต้องผ่าตัด แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจติดตาม ร่วมกับให้ยาลดความดันโลหิต เพื่อลดแรงดันเลือดที่กระทำต่อผนังหลอดเลือด
ประมาณ 110,000 – 768,000 บาท
หมายเหตุ: ค่าใช้จ่ายอาจมีการเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับโปรโมชันและแพ็กเกจแต่ละโรงพยาบาล
เพราะโรคหัวใจมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก เริ่มต้นหลักหมื่นไปจนถึงล้านบาท ไม่ว่าจะเป็นค่ารักษา ค่าผ่าตัด ค่าอุปกรณ์ ค่าห้อง ค่าธรรมเนียมแพทย์ผ่าตัด ค่าปรึกษาแพทย์พิเศษ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการรักษา พอเห็นบิลก็แทบจะเป็นลมใช่ไหมล่ะ?!
แต่ถ้าคุณมีประกันสุขภาพ พ่วงกับประกันโรคร้ายแรงอยู่แล้ว จะช่วยแบ่งเบาภาระค่ารักษาพยาบาลได้เมื่อเกิดโรคร้ายแรงอย่างเช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคมะเร็ง และโรคร้ายแรงอื่นๆ ที่อยู่ในความคุ้มครอง ทำให้คุณใช้ชีวิตได้อย่างอุ่นใจ พร้อมคุ้มครองต่อปี และนำมาลดหย่อนภาษีได้ด้วยนะ