Bolttech Insurance Broker
LinePhone

ซื้อคอนโด ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?

หากใครที่กำลังมองหาคอนโด ซื้อคอนโด นอกจากทำเรื่องกู้ธนาคารได้แล้ว เราก็ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ต้องจ่ายในวันโอนด้วยนะ ซึ่งวันนี้เพนกวิน bolttech กูรูประกันภัยจะมาเฉลยคำตอบว่า ค่าใช้จ่ายซื้อคอนโดมีอะไรบ้าง เผื่อจะได้เตรียมเงินให้พร้อม ไม่เสียเวลาด้วย

ค่าใช้จ่ายซื้อคอนโด อ่านเร็วๆ: 

  • ค่าจอง 
  • ค่าทำสัญญา 
  • เงินดาวน์คอนโด 
  • ค่าประเมินราคา 
  • ค่าจดจำนอง 
  • ค่าโอนกรรมสิทธิ์คอนโด 
  • ค่าส่วนกลางคอนโด 
  • ค่ากองทุน (จ่ายครั้งเดียว)  
  • ค่าอากรแสตมป์ 
  • ค่าประกันมิเตอร์น้ำ-ไฟฟ้า 
  • ค่าประกันอัคคีภัย  
  • ค่าประกันภัยอาคาร (โดยนิติบุคคลฯ)

1. ค่าจอง

เป็นเงินก้อนแรกที่ต้องจ่าย เปรียบเสมือนการจองห้องที่รอวันโอนกรรมสิทธิ์คอนโด  จำนวนมากน้อยเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับราคาคอนโดมิเนียมที่ต้องการซื้อ ส่วนใหญ่โดยส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 5,000 – 60,000 บาท เป็นต้น 

ค่าจอง

2. ค่าทำสัญญา

เมื่อทำการจองคอนโดเสร็จแล้ว ทางโครงการจะกำหนดวันสัญญาซื้อขาย เงินทำสัญญาปกติจะก้อนใหญ่กว่าเงินจอง โดยจำนวนเงินทำสัญญาขึ้นอยู่กับราคาคอนโด  มีตั้งแต่หลักหมื่นไปจนถึงหลักแสนบาท 

3. เงินดาวน์คอนโด

ธนาคารบางแห่งได้ปล่อยสินเชื่อเพื่อกู้ซื้อคอนโด ได้ในสัดส่วน LTV ไม่เกิน 90% ให้เตรียมเงินดาวน์คอนโด ขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 10% ของราคาคอนโด (รวมเงินจองและเงินทำสัญญา) ส่วนใหญ่มีระยะเวลาการผ่อนดาวน์กันตั้งแต่เริ่มขายคอนโดไปจนถึงสร้างคอนโดเสร็จ 

4. ค่าประเมินราคา

ค่าประเมินคอนโด คือ จ่ายในวันที่ยื่นเรื่องกู้เงินกับธนาคาร ราคาประเมินคอนโดเฉลี่ยอยู่ที่ 2,000-3,000 บาท ต่อการประเมินหนึ่งครั้ง  ค่าประเมินนี้จ่ายแล้วจ่ายเลยถึงแม้จะกู้ผ่านหรือไม่ผ่านก็ตาม หากคุณยื่นเรื่องกู้หลายธนาคารก็ต้องจ่ายมาก แต่บางธนาคารก็ไม่มีการเรียกเก็บในส่วนนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและข้อตกลง 

ค่าประเมินราคา

5. ค่าจดจำนอง

ค่าจดจำนอง เป็นค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้นสำหรับผู้ที่ขอสินเชื่อธนาคาร หรือกู้ซื้อคอนโดเท่านั้น  หากคุณจ่ายคอนโดเป็นเงินสดก็จะไม่มีค่าใช้จ่ายในส่วนตรงนี้ เปรียบเหมือนหลักทรัพย์สินที่ค้ำประกันหนี้ โดยจะต้องจ่ายค่าจดจำนองที่ 1% ของวงเงินกู้ 

ยกตัวอย่าง น้องกวิ้นกู้เงินจากธนาคาร 2 ล้านบาท เพื่อซื้อคอนโดมิเนียม คิดเป็น 1%x2 ล้าน = 20,000 บาท นั่นเอง 

6. ค่าโอนกรรมสิทธิ์คอนโด

ค่าโอนกรรมสิทธิ์ จะต้องจ่ายทั้งผู้ซื้อและผู้ขายคอนโด เป็นค่าใช้จ่ายที่ 2% ของราคาคอนโดหรือราคาประเมินคอนโด  ส่วนใหญ่ออกคนละครึ่งเท่ากับเราออก 1% และผู้ขายออก 1%  

สมมติว่า น้องกวิ้นซื้อคอนโด ราคา 3,000,000 บาท คิดเป็น 3,000,000 บาท x 2% (ค่าธรรมเนียมการโอน) = 60,000 บาท  ดังนั้น เมื่อจ่ายคนละครึ่งเหลือเท่ากับ 30,000 บาท ที่น้องกวิ้นต้องจ่ายเป็นค่าโอนกรรมสิทธิ์ 

หมายเหตุ: แต่บางโครงการก็จัดโปรโมชัน ฟรีค่าใช้จ่ายวันโอน แต่เราก็ต้องศึกษาให้ละเอียดหรือสอบถามกับทางโครงการนั้นๆ โดยตรงว่าเงื่อนไขอะไรบ้าง 

ค่าโอนกรรมสิทธิ์คอนโด

7. ค่าส่วนกลางคอนโด

ค่าส่วนกลางของหมู่บ้านหรือคอนโด เป็นค่าใช้จ่ายบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมทรัพย์สินส่วนกลาง โดยประเมินตามขนาดพื้นที่เป็นตารางเมตรของห้องชุด  เช่น ถ้าขนาดห้องคอนโด 30 ตารางเมตร มีค่าส่วนกลางราคา 30 บาท/เดือน/ตร.ม. ค่าส่วนกลางคอนโดที่ต้องจ่ายคิดเป็น 30 (ค่าส่วนกลาง) x 30 (ขนาดห้องตารางเมตร) x 12 (1 ปี) = 10,800 บาทต่อปี 

 ค่าส่วนกลางคอนโด

8. ค่ากองทุน (จ่ายครั้งเดียว)

ค่ากองทุน ต่างจากค่าส่วนกลางที่ต้องจ่ายตามรายปี เพราะค่ากองทุนนี้จ่ายเพียงครั้งเดียวเท่านั้น  เป็นเงินกองกลางที่ใช้บริหารโครงการในเรื่องต่างๆ ปกติจะเก็บอยู่ที่ประมาณ 500 บาทต่อตารางเมตร 

9. ค่าอากรแสตมป์

ธนาคารเรียกเก็บจากผู้ซื้อเพื่อไปจ่ายให้กับสรรพากร และจะเก็บอยู่ที่ 0.05% ของวงเงินกู้

10. ค่าประกันมิเตอร์น้ำ-ไฟฟ้า

ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ผู้ซื้อจะต้องจ่ายให้กับโครงการ แล้วโครงการจะนำเงินไปจ่ายให้กับไฟฟ้านครหลวงและการประปา  

ค่าประกันมิเตอร์น้ำ ไฟฟ้า

11. ค่าประกันอัคคีภัย

ผู้ที่ต้องการกู้เงินซื้อคอนโด ส่วนใหญ่ธนาคารจะแนะนำให้ลูกค้าทำประกันอัคคีภัยสำหรับคอนโดเพื่อเป็นหลักประกัน เพราะถ้าเกิดเหตุไม่คาดฝันกับที่อยู่อาศัย บริษัทประกันจะเข้ามาช่วยรับผิดชอบในส่วนนี้ อาจจ่ายเป็นงวดที่ตกลงกับธนาคารหรือบริษัทประกันภัย ทั้งนี้ธนาคารมักจะบังคับให้ทำตามปีที่กำหนดเพื่อเป็นหลักประกันความเสี่ยง หากผ่อนจ่ายครบแล้วจะซื้อประกันภัยหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับตัวคุณ 

12. ค่าประกันภัยอาคาร (โดยนิติบุคคลฯ)

ทางนิติบุคคลของคอนโดบางโครงการ อาจมีการแนะนำให้ทำประกันอัคคีภัยหรือประกันคอนโด เพื่อคุ้มครองแก่ห้องชุดของคุณนอกเหนือจากความคุ้มครองพื้นที่ส่วนกลาง แต่ถ้าคุณทำประกันภัยกับธนาคารหรือซื้อประกันคอนโดส่วนตัวอยู่แล้ว ก็ควรสอบถามกับทางนิติบุคคล จะได้ไม่ซื้อประกันซ้ำซ้อน

ค่าประกันภัยอาคาร (โดยนิติบุคคลฯ)

ข้างต้นนี้เป็น ค่าใช้จ่ายซื้อคอนโด ที่ต้องเตรียมไว้ล่วงหน้า ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าตรวจห้อง ค่าตกแต่งภายใน ค่าเฟอร์นิเจอร์ ค่าเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น แนะนำให้คุณสอบถามกับทางโครงการของคอนโดก่อนว่า ฟรีค่าใช้จ่ายในส่วนไหนบ้าง? เพื่อสิทธิประโยชน์ของตัวคุณเอง เชื่อว่าถ้าคุณเตรียมพร้อมและวางแผนเก็บเงินมาอย่างดี รับรองว่าการซื้อคอนโดของคุณไม่ไกลเกินเอื้อม!!

กู้เงินซื้อคอนโด

ซื้อประกันบ้านและทรัพย์สิน กับ bolttech.co.th จะไฟไหม้ ฟ้าผ่า ระเบิด หรือน้ำรั่วเพดานพัง ก็ไม่ต้องกังวลใจ เพราะประกันจะช่วยดูแลค่าซ่อมที่อยู่อาศัยให้กับคุณ มีแผนให้เลือกได้หลากหลาย หรือจะซื้อความคุ้มครองเสริมได้ ไม่ว่าจะเป็นภัยจากการโจรกรรม ภัยกระจก หรือภัยเสียหายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้า ช่วยดูแลที่อยู่อาศัยของคุณให้ปลอดภัย ราคาไม่แพง หากสนใจเข้ามาเช็คเบี้ยประกันได้เลย

ประกันบ้าน ประกันคอนโด

Sleeping Blogger

Content Writer ผู้ที่รักงานเขียนเป็นชีวิตจิตใจ ชอบเล่าเรื่อง แชร์ความรู้ใหม่ๆ หรือไอเดียง่ายๆ ที่เป็นสไตล์ของตัวเอง อยากให้เพื่อนๆ สนุกไปด้วยกัน!

เชื่อมต่อ กับพวกเรา

รับข่าวสารล่าสุดและข้อเสนอโดยติดตามเราในช่องโปรดของคุณ
LineFacebook
Bolttech
บริษัท โบลท์เทค อินชัวร์นส์ โบรคเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
ใบอนุญาตินายหน้าประกันภัยหมายเลข
00017/2559
หมายเลขจดทะเบียนนิติบุคคล
0105559056161
รับรองความปลอดภัย และ อยู่ภายใต้ความควบคุม ของ
GeoTrustDBDOffice of Insurance Commission
Security & Compliances
GeoTrustDBDOffice of Insurance Commission
bolttech © 2021 All Rights Reserved.