หากรถยนต์ประสบอุบัติเหตุชนหนักหน่วงพังยับเยิน เสียหายอย่างสิ้นเชิงมีค่าซ่อมเกิน 70% ของทุนประกัน ทำให้ไม่สามารถขับขี่ได้อีก กล่าวคือ “กลายเป็นซากรถที่ซ่อมก็ไม่คุ้ม ขับต่อก็ไม่ได้” หรือรถยนต์เก่าที่จอดทิ้งไว้จนสภาพไม่เหมือนเดิม ขับไม่ได้แล้ว สถานการณ์แบบนี้เราอาจจะต้องทำการขายซากรถยนต์ ต้องรู้ก่อนตามนี้
บอกเลยว่า แตกต่าง เพราะรถยนต์ที่มีประกันภาคสมัครใจหรือประกันรถยนต์จะมีความคุ้มครองดูแล ส่วนรถยนต์ที่เสียหายสิ้นเชิงและไม่มีประกันรถยนต์ต้องดูแลตัวเองครับ
อธิบายเพิ่มเติม เมื่อรถประสบอุบัติเหตุไม่สามารถซ่อมคืนได้ กรณีมีประกันภัยรถยนต์ ทางบริษัทประกันภัยจะทำการประเมินค่าซ่อมรถ หากรถยนต์คันนั้นเสียหายหนักต้องจ่ายค่าซ่อมมากกว่า 70% ของทุนประกัน ทางบริษัทจะคืนทุนประกันภัยตามเงื่อนไขของบริษัทฯ ประกัน แบ่งเป็นกรณีดังนี้
เลือกขายซากให้ทางบริษัทประกันทันที เพื่อรับค่าชดเชยคืนทุนประกันรถยนต์ 100% แต่ต้องโอนกรรมสิทธิ์รถให้บริษัทฯ หลังจากโอนเสร็จสิ้นความคุ้มครองรถยนต์จะสิ้นสุดลงทันที
กรณีรถเสียหายต้องจ่ายค่าซ่อมมากกว่า 70% ของมูลค่ารถยนต์ในขณะเกิดความเสียหาย เจ้าของรถ (ผู้เอากรมธรรม์) สามารถเลือกที่จะเก็บซากรถไว้ ทางบริษัทประกันจะประเมินจ่ายค่าสินไหมทดแทนระหว่าง 65 - 70% ของทุนประกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ประกันภัยแต่ละบริษัท หลังจากนั้นขึ้นอยู่กับคุณแล้วครับว่าจะนำซากรถไปไว้ที่ไหน
เข้าใจง่ายขึ้น... ด้วยตัวอย่าง “นายน้ำแข็งไส ใจเย็น เขาขับรถยนต์ราคา 1,000,000 บาท ทำการซื้อประกันรถยนต์มีทุนประกัน 800,000 บาท อยู่มาวันนึงรถยนต์ของเขาประสบอุบัติเหตุรถพลิกคว่ำพังยับเยิน ! เจ้าหน้าที่ประกันภัยประเมินค่าซ่อมรถอยู่ที่ 600,000 บาท แบบนี้รถของนายน้ำแข็งไสจะได้รับความคุ้มครองอย่างไรบ้างล่ะ ?”
เห็นได้เลยว่า การเก็บซากไว้และการขายซากให้บริษัทฯ ประกันอาจจะมีค่าชดเชยที่แตกต่างกันออกไปครับ หากไม่โอเคกับการประเมินค่าซ่อมของบริษัทฯ ประกันภัย หรือตกลงเงินชดเชยไม่ได้ อาจจะต้องติดต่ออู่กลางการประกันภัยที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมธุรกิจประกันภัย (คปภ.) แต่งตั้ง
ก่อนอื่นต้อง “ทำใจครับ” หากคุณไม่มีประกันรถยนต์ อาจจะต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด และต้องดำเนินเรื่องขายซากรถตามอู่รับซื้อซากรถยนต์ด้วยตนเอง และกรณีศึกษาของการขายซากรถแบบคร่าว ๆ ให้เข้าใจก็มีประมาณนี้
ก่อนขายซาก ไม่ว่าจะเป็น ซากรถที่จอดทิ้งไว้ ซากรถประสบอุบัติเหตุ เราจะต้องเช็กให้ดีว่า “ภาษีประจำปีหมดอายุแล้วหรือยัง ?” หากยังไม่หมดต้องแจ้งยกเลิกการใช้งานที่กรมขนส่งทางบกครับ เพื่อป้องกันการสวมทะเบียนจากเหล่ามิจฉาชีพ ตรงนี้อันตราย ถ้าจะขายซากพร้อมป้ายต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ขนส่งก่อน
เพราะการขายซากรถใกล้เคียงกับการขายรถมือสอง เล่มรถ โอนทะเบียนให้คนซื้อซากรถ
ไม่แนะนำให้ขายซากรถที่ไม่มีเล่มทะเบียน เนื่องจากกรมขนส่งทางบกออกกฎหมายงดรับจดทะเบียนซากรถ โดยเริ่มใช้สิ้นปี พ.ศ. 2557
การขายซากรถสามารถโอนลอยได้ครับ เตรียมหลักฐาน เล่มทะเบียน โอนลอยได้เหมือนรถมือสองเป๊ะ ๆ
ไม่เหมือนกัน เพราะปกติน้ำท่วมความเสียหายจะน้อยกว่าอุบัติเหตุ ส่วนใหญ่สามารถซ่อมแซมกลับมาใช้งานตามปกติได้ล่ะ
ทำความเข้าใจการซื้อขายซากรถแบบถามตอบฉบับคร่าว ๆ แล้ว ไว้คราวหน้า Frank จะหาบทความดี ๆ เกี่ยวกับรถยนต์และประกันภัยมาเล่าให้ฟังอีกเรื่อย ๆ นะครับ สามารถติดตามเคล็ดลับน่ารู้เกี่ยวกับประกันรถยนต์ แหล่งความเกร็ดความรู้แบบเจาะลึกเพื่อพิจารณาก่อนตัดสินใจเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์ได้เลย
ขอบคุณข้อมูล: th.carro.co, pantip.com, thairath.co.th, chobrod.com
Content by Butter Cutter