ประกันสังคม ถือเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานตามกฎหมายแรงงาน หากวันนึงคุณเจ็บป่วยต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล ต้องลางานหลายวัน อาจทำให้สูญเสียรายได้จากการทำงาน ซึ่งสิทธิประกันสังคมจะคุ้มครองอะไรบ้าง? ต่างจากประกันชดเชยรายได้อย่างไร? มนุษย์เงินเดือนควรรู้ไว้ บทความนี้เป็นประโยชน์ให้กับคุณได้นะ
ไม่ว่าจะมีสิทธิประกันสังคมมาตรา 33, 39 หรือ 40 กรณีที่ต้องหยุดพักทำงานเพื่อรักษาตัวตามคำสั่งของแพทย์ สามารถหยุดพักได้ครั้งละไม่เกิน 90 วัน และไม่เกิน 180 วันต่อปี ยกเว้นเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังจะได้รับเงินทดแทนสูงสุด 365 วันต่อปี
จำนวนเงินชดเชยรายได้จะต่างกันไป ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของผู้ประกันตนแต่ละมาตรา โดยผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน สามารถยื่นอุทธรณ์การจ่ายผลประโยชน์ทดแทนได้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง เพื่อเข้าใจง่ายขึ้นมาดูรายละเอียดตามนี้
กรณีลาป่วย รับค่าจ้าง 30 วันแรกจากนายจ้าง และหากหยุดรักษาตัวเกิน 30 วัน สามารถเบิกกรณีขาดรายได้จากสำนักงานประกันสังคม ตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วย
รับเงินชดเชยรายได้ 50% ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ครั้งละไม่เกิน 90 วัน สูงสุดไม่เกินปีละ 180 วัน ยกเว้นโรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน
เงื่อนไข: ส่งเงินสมทบมาแล้วอย่างน้อย 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันที่เจ็บป่วย
รับเงินชดเชยรายได้ 50% โดยคิดจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบที่ 4,800 บาท ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน ยกเว้นโรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน
เงื่อนไข: ส่งเงินสมทบมาแล้วอย่างน้อย 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันที่เจ็บป่วย
ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 สามารถเบิกเงินชดเชยรายได้ เป็นจำนวน 200 บาทต่อวัน ไม่เกิน 30 วันต่อปี
เงื่อนไข: ส่งเงินสมทบมาแล้วอย่างน้อย 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือนก่อนวันที่เจ็บป่วย
ประกันชดเชยรายได้ เปรียบเหมือนหลักประกันที่เพิ่มความอุ่นใจในชีวิต หากวันนึงคุณไม่สบายขึ้นมาแล้วจำเป็นต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล มั่นใจได้ว่าจะมีเงินเยียวยาให้กับคุณ ไม่กระทบเงินเก็บของคุณด้วย
กรณีที่มีสิทธิประกันสังคม และทำประกันชดเชยรายได้เพิ่มเติม คุณจะได้รับเงินชดเชยที่เพิ่มขึ้นตามเงื่อนไข โดยให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุม อุ่นใจมากกว่าเดิม หากคุณสนใจเข้ามาดูแผนประกันชดเชยรายได้จาก Tune Protect รับเงินชดเชยรายได้สูงสุด 2,000 บาทต่อวัน (สูงสุด 180 วัน) หมดกังวลไปได้เลย เบี้ยเริ่มชิลๆ 3 บาทต่อวันเท่านั้น!!