อาการช็อค เป็นภาวะของการไหลเวียนเลือดลดลงผิดปกติ ทำให้เลือดไปสูบฉีดเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ไม่เพียงพอ ทำให้รู้สึกหายใจไม่ออก หมดแรง หน้ามืด ตาลาย เวียนหัว บางรายถึงขั้นวูบหมดสติและเสียชีวิตได้ ยิ่งคนที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตต่ำ โรคหลอดเลือดสมอง เสี่ยงเกิดภาวะอาการช็อคได้ง่าย เราต้องรู้จักป้องกันและดูแลตัวเองตั้งแต่อายุน้อยๆ
ภาวะช็อก คือ ภาวะที่เนื้อเยื่อของร่างกายมีการขาดออกซิเจน (Tissue hypoxia) สามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ ได้แก่
คือ ภาวะที่ร่างกายสูญเสียน้ำหรือเลือดในร่างกายมากเกินไป เช่น การสูญเสียสารน้ำจาก การอาเจียน ถ่ายเหลว การสูญเสียเลือดเมื่อเกิดอุบัติเหตุ หรือเป็นโรคลมแดด
ความดันโลหิตต่ำลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เลือดไหลเวียนน้อยลง และทำให้ระบบอวัยวะต่างๆ ล้มเหลว อาจเสียชีวิตได้
เป็นอาการช็อกที่เกิดจากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจทำงานล้มเหลวจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างรุนแรง
เกิดจากที่ร่างกายได้รับสารกระตุ้นบาอย่าง และบางคนมีระบบภูมิต้านทานต่อสารกระตุ้นผิดปกติ เช่น แพ้อาหารหรือยาบางชนิด ถั่ว อาหารทะเล แมลงกัดต่อย หรือสารต่างๆ
กรณีที่ผู้ที่ป่วยเกิดอาการช็อค ให้รีบปฐมพยาบาลและนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด แต่ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจ ไม่รู้สึกตัว ควรช่วยเหลือด้วยการทำ CPR (Cardiopulmonary resuscitation) เพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยรอดชีวิต หากช้าเกินไปอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
หากพบผู้ป่วยหมดสตินอนอยู่ อย่าเพิ่งตกใจให้ประเมินความปลอดภัยของสถานที่เกิดเหตุก่อนอันดับแรก เช่น สายไฟฟ้า แหล่งน้ำ หรือมีรถสัญจรผ่านไปมาหรือไม่
ต่อมาให้ปลุกผู้หมดสติด้วยการตบไหล่ทั้งสองข้าง และเรียกเสียงดังๆ พร้อมรายงานตัวว่าคุณได้เข้ามาช่วยเหลือ หากไม่รู้สึกตัวให้ตรวจดูลมหายใจของผู้ที่หมดสติ หากผู้ป่วยรู้สึกตัวและหายใจเองได้ ให้จับตัวผู้ป่วยอยู่ในท่าตะแคงนอน จะช่วยให้ผู้ป่วยหายใจสะดวกมากกว่า
จากนั้นให้รีบโทรขอความช่วยเหลือที่สายด่วน 1669 หรือเบอร์โรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่เกิดเหตุ ให้คุณระบุอาการของผู้ป่วย สถานที่เกิดเหตุ และเบอร์ติดต่อของผู้แจ้ง เพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับเมื่อเดินทางไปถึงที่เกิดเหตุ ทั้งนี้ให้คุณคอยฟังเสียงโทรศัพท์จากเจ้าหน้าที่ให้ดี
กรณีผู้ป่วยอยู่ในภาวะช็อค แต่ยังไม่หมดสติ ควรช่วยเหลือด้วยการใช้ผู้ป่วยนอนหงายราบกับพื้น ยกขาให้สูงขึ้นจากพื้นประมาณ 12 นิ้ว เพื่อให้เลือดไหลเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญ หากสวมใส่เสื้อผ้าแน่นเกินไปควรคลายเสื้อผ้าให้หลวม แล้วห่มผ้าห่ม รักษาอุณหภูมิร่างกายให้อบอุ่น พยายามให้ผู้หมดสติอยู่ในที่มีอากาศถ่ายเท จากนั้นให้เจ้าหน้าที่นำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล
ข้อควรระวัง: กรณีที่ผู้ป่วยอยู่ในอาการช็อค ไม่ควรให้ยา น้ำ หรืออาหาร เพราะอาจเกิดการสำลักอุดทางเดินอาหาร ถึงแม้ผู้ป่วยจะดูกระหายน้ำมากก็ตาม อาจเพียงแตะๆ น้ำบริเวณริมฝีปาก
แต่ถ้าผู้ป่วยหมดสติ แล้วเจ้าหน้าที่ยังไม่ถึงที่เกิดเหตุ เราจำเป็นต้องช่วยด้วยการทำ CPR เพิ่มโอกาสรอดชีวิตขงผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้นได้ โดยวิธีการทำ CPR หรือปั๊มหัวใจที่ถูกต้อง คือ
การเรียนรู้วิธีปฐมพยาบาล และทำ CPR ที่ถูกต้อง คุณอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บได้รอดชีวิต สิ่งสำคัญคุณต้องรีบโทร 1669 หรือติดต่อโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้ามาช่วยเหลือทันเวลา
เพราะอุบัติเหตุอยู่ใกล้ตัวคุณ ซื้อประกันอุบัติเหตุออนไลน์ ไม่ต้องกังวลค่ารักษาเมื่อถูกส่งรพ. คุ้มครองทันทีเมื่อเกิดอุบัติเหตุ แผลเล็กแผลใหญ่พร้อมดูแล บางแผนมีเงินชดเชยรายได้ เบี้ยเริ่มเพียง 850 บาทต่อปี สนใจเข้ามาเทียบแผนประกันได้ ซื้อง่าย รวดเร็ว ตรงใจ