โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer) เป็นหนึ่งโรคที่เกิดจากทำงานของสมองที่เสื่อมสภาพ มักพบได้บ่อยในผู้สูงวัยที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป แต่ก่อนที่ผู้ป่วยจะเป็นอัลไซเมอร์ จะแสดงอาการอัลไซเมอร์มาระยะหนึ่งแล้ว ความทรงจำจะค่อยๆ เลือนลาง ทำให้เซลล์สมองเสื่อม สมองฝ่อ คนที่อยู่ใกล้ชิดจะต้องดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ภาวะสมองเสื่อม ดังต่อไปนี้
โรคอัลไซเมอร์ อาการทั่วไปแบ่งได้ 3 ระยะ ได้แก่ ระยะแรก ที่ผู้ป่วยเริ่มมีความทรงจำถอยลง ชอบพูดซ้ำๆ เรื่องเดิม สับสับทิศทาง อาร์มเสียง่ายและซึมเศร้า ส่วนในระยะที่สองผู้ป่วยมีอาการชัดเจนขึ้น ความจำแย่ลง หงุดหงิดง่าย และระยะที่สาม เป็นระยะที่รุนแรง ผู้ป่วยไม่สามารถตอบสนองคนรอบข้างได้ ใช้ชีวิตประจำวันไม่ได้เหมือนแต่ก่อน เคลื่อนไหวและทานข้าวเองไม่ค่อยได้ หรือกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง ต้องมีคนดูแลอย่างใกล้ชิด
เป็นอาการที่พบได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น เช่น จำไม่ได้ว่าวางของไว้ที่ไหน หลงทิศทางทั้งที่เคยไปมาก่อน ถ้าเป็นระยะที่รุนแรงขึ้นจะไม่สามารถจำคนรอบข้าง หรือแม้กระทั่งลืมชื่อของตนเอง
ผู้ป่วยอัลไซเมอร์มักใช้ชีวิตประจำวันไปเรื่อยๆ โดยไม่รู้เรื่องของเวลา สถานที่ และฤดูกาล เพราะการทำงานของสมองเริ่มถดถอยลง
มีปัญหาในการสื่อสาร เช่น ลืมบทสนทนา ตอบไม่ตรงคำถาม หรือชอบทำอะไรซ้ำๆ พูดแต่เรื่องเดิมๆ วกวนไปมา คนใกล้ตัวจะสังเกตอาการของผู้ป่วยได้ชัดเจน
อาการแปรปรวนง่าย ชอบหงุดหงิด โมโห ก้าวร้าว บางครั้งก็พูดจาหยาบคายจนไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ บางครั้งก็รู้สึกกระวนกระวาย และวิตกกังวลร่วมด้วย
เป็นหนึ่งในอาการอัลไซเมอร์ ที่พบได้บ่อยสุด คือผู้ป่วยจะมีอาการซึมเศร้า รู้สึกว้าเหว่ อยู่ตัวคนเดียว ถูกทอดทิ้งและไม่มีใครคอยสนทนา ก็ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมได้ง่าย
ถ้าผู้ป่วยอยู่ในระยะรุนแรง จะไม่สามารถดูแลตัวเองหรือใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ เช่น ทานข้าวไม่ได้ เคลื่อนไหวไม่ได้ ต้องให้คนคอยช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด
โดยพบอาการอ่อนแรง เพลีย แขนขาชา กล้ามเนื้อสั่น บางรายก็ป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน กล้ามเนื้อ ระบบประสาททำงานไม่ประสานกัน
บางรายก็มีปัญหาเรื่องของการนอน เช่น นอนไม่หลับ นอนไม่เต็มอิ่ม เพราะผู้ป่วยอัลไซเมอร์ส่วนใหญ่มักมีอาการวิตกกังวล ทำให้นอนหลับได้ยาก
อาการอัลไซเมอร์ สามารถแบ่งตามระดับความรุนแรง หากอยู่ในระยะที่ 3 จะใช้ชีวิตประจำวันยากขึ้น ตอบสนองต่อสิ่งรอบข้างน้อยลง ก็เป็นอีกหนึ่งโรคที่ควรระวัง เราต้องดูแลรักษาตัวเองตั้งแต่ที่ยังสุขภาพดี เพื่อป้องกันโรคอัลไซเมอร์ที่อาจเกิดขึ้น
ทั้งนี้การรักษาผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ ยังไม่สามารถรักษาหายขาดได้ เพียงแต่ประคับประคอง หรือฟื้นคืนสมองไปเรื่อยๆ โดยการรักษาจะขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ ด้วยวิธีการรักษา 2 รูปแบบคือ
เป็นการใช้ยาเพื่อช่วยควบคุมอาาร ยับยั้งเอนไซม์ที่ทำลายระบบประสาทอะซีติลโคลีน เพิ่มหรือปรับระดับของสารแอซิติลโคลีนไม่ให้ลดลงเกินไป หรือแพทย์อาจจะให้ยาทางจิตเวชควบคู่สำหรับผู้ป่วยบางราย
ทำได้ด้วยการออกกำลังกายเบาๆ อ่านหนังสือ เล่นเกมส์ที่ฝึกใช้สมอง พบปะผู้คน ฝึกพูดหรือสนทนากับคนรอบข้าง เพื่อฟื้นฟูความทรงจำ ฝึกการเคลื่อนไหวร่างกาย ปรับการนอนหลับให้เพียงพอ ฝึกการทานอาหารด้วยตัวเอง รวมถึงดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อย 2 ลิตรต่อวัน เพราะดื่มน้ำให้เพียงพอจะช่วยให้สมองสดชื่น เลือดไหลเวียนดีขึ้น
โรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคที่ต้องการคนดูแล และทำการรักษาอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน หากคุณรู้สึกว่าตัวเองมีอาการใกล้เคียงโรคอัลไซเมอร์ เช่น มีอาการหลงๆ ลืมๆ ร่างกายอ่อนเพลีย เราควรไปพบแพทย์ให้ทำการตรวจทันทีก่อนที่อาการจะรุนแรงมากขึ้น
สุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ เราควรดูแลรักษาสุขภาพตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อป้องกันตัวเองจากโรคร้าย หรือ ซื้อประกันสุขภาพ ที่ bolttech.co.th คุ้มครองค่ารักษาจากการเจ็บป่วย ครอบคลุมทั้งค่าห้อง ค่าผ่าตัด สามารถเบิกได้ตามโรงพยาบาลในเครือ โดยไม่ต้องสำรองจ่าย ทำให้คุณใช้ชีวิตได้อย่างไม่ต้องกังวล
ขอบคุณข้อมูลจาก: nakornthon.com , pobpad.com