การตั้งชื่ออาหารตามแหล่งที่มาถือเป็นวิธีคลาสสิคของเชฟทั่วโลกนะครับ เช่น เป็ดปักกิ่ง ก็มาจากประเทศจีน แต่มีหลายเมนูอาหารอร่อยที่ชื่อนี่ยกเมืองนอกมาเลย แต่ไหง หากินในประเทศนั้นไม่ได้ หากินได้แค่ในไทยซะงั้น ไหนๆ ก็เที่ยวต่างประเทศลำบากเพราะโควิด งั้นแฟรงค์ขอแปลงร่างเป็นเชฟชวนชิม พาคุณไปดู 6 เมนูอาหารชื่อเมืองนอก แต่หากินแค่ในไทยกัน
ขนมชื่อเดียวกับเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น ที่ไม่ได้มาจากญี่ปุ่นนะจ๊ะ แต่เป็นขนมไทยที่ทำจากแป้งบนกระทะร้อนที่ใส่ใส้หลายชนิด ทั้งไก่หยอง ไข่นกกระทา ไส้กรอก บางเจ้าการตลาดดีมีการวาดคำตามลูกค้าสั่งด้วย แต่พอม้วนปุ้บ อ่านไม่ออกเลยจ้า
ประวัติของ “ขนมโตเกียว” มีหลากหลายที่มา แต่ประวัติที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือเมื่อช่วงปี 2510 ณ ห้างไทไดมารุ ห้างสัญชาติญี่ปุ่นแห่งแรกในประเทศไทย มีพ่อค้าหัวใสนำขนมโดรายากิมาดัดแปลง และตั้งชื่อให้ดูเป็นญี่ปุ่น จนกลายเป็นขนมโตเกียวอย่างทุกวันนี้นั่นเอง
ขนมหวานที่ไม่ได้ข้ามทะเลมาจากเมืองเมอร์ไลออน “ลอดช่องสิงคโปร์” เป็นขนมที่ดัดแปลงมาจากลอดช่องโบราณ โดยการเปลี่ยนส่วนผสมในการทำเส้นจากแป้งข้าวเจ้า มาใช้แป้งมันสำปะหลัง ทำให้ลอดช่องสิงคโปร์มีเส้นที่เหนียวหนุบกว่า กินคู่กับน้ำกระทิใส่น้ำแข็งตอนหน้าร้อน สดชื่นฝุดๆ
โดยเหตุผลที่ชื่อ ลอดช่องสิงคโปร์ นี้ เพราะต้นกำเนิดของลอดช่องสูตรนี้ มาจากร้านอาหารชื่อ “สิงคโปร์โภชนา” ที่อยู่หน้าโรงภาพยนต์สิงคโปร์ ซึ่งสูตรลอดช่องสิงคโปร์ของร้านนี้ก็เป็นที่ถูกอกถูกใจ จนโด่งดังไปทั่วประเทศจนถึงทุกวันนี้นั่นเอง
หากคุณเดินเล่นที่ไทม์สแควร์ เข้าไปที่ร้านอาหารดัง และสั่ง “ข้าวผัดอเมริกัน” สิ่งที่คุณจะได้่รับคือความงงเต๊กจากพ่อครัวอย่างแน่นอน เพราะข้าวผัดอเมริกัน ไม่ได้มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอเมริกาเด้อ
ข้าวผัดสีแดงจากซอสมะเขือเทศ เสริฟพร้อมไข่ดาว ไก่ทอด ไส้กรอก เมนูที่มีวัตถุดิบส่วนใหญ่มาจากอาหารเช้าแบบอเมริกันนี้ มีต้นกำเนิดจากที่ไทยแลนด์นี้เอง โดยต้นกำเนิด บ้างก็ว่ามาจากร้านอาหารแอร์พอร์ตเรสตัวรองต์ ที่ได้นำอาหารเช้าแบบอเมริกันที่เหลือมาผัดกับข้าวเพื่อเสริฟให้กับทหารอเมริกันจนได้รับความนิยม บ้างก็ว่ามาจากพ่อครัวชื่อ “โกเจ๊ก” คิดค้นขึ้นเพื่อให้บริการทหารอเมริกันที่ตั้งฐานทัพในไทยช่วงสงครามเวียดนาม
และด้วยความที่ข้าวผัดอเมริกันมีส่วนผสมทั้งไข่ดาว ไส้กรอก ไก่ทอด และของทานง่ายสไตล์อเมริกันอื่นๆ ทำให้เมนูสำหรับทหารเมกันในวันนั้น กลายมาเป็นเมนูยอดฮิตของเด็กไทยในวันนี้
แม้จะชื่อว่า “กล้วยแขก” แต่ก็ไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับพี่น้องชาวอินเดียเลยนะครับ ซึ่งที่มาของเจ้ากล้วยแขก ขนมไทยที่ทำจากกล้วยหั่นครึ่ง ชุบแป้ง บางเจ้าก็ใส่น้ำตาล งาขาว และกระทิด้วย จากนั้นนำมาทอดให้เหลืองกรอบ ซึ่งกล้วยแขกมีที่มาน่าสนใจมากคือ
คำว่าแขก เพี้ยนมาจากคำว่า แปลก ที่หมายถึง คนแปลกหน้า คนที่ไม่ใช่เจ้าบ้าน คนต่างถิ่น
ฉะนั้น “กล้วยแขก” จึงน่าจะหมายถึง อาหารที่ทำจากกล้วยที่แปลกออกไปจากอาหารคาว แบบเดิม ๆ ของไทย นั่นเอง
แม้ประเทศไทยจะได้รับอิทธิพลมาจากประเทศจีนเยอะ แต่ขนมจีนไม่ใช่ขนมนะครับ และไม่ได้มาจากประเทศจีนด้วย แต่ขนมจีนเป็นอาหารคาวชนิดหนึ่งที่ทำด้วยแป้งเส้นกลมๆ คล้ายเส้นหมี่ ได้รับอิทธิพลจากอาหารมอญที่ชื่อ ขนมจีน แปลได้ว่า เส้นสุก โดยในประเทศไทยนิยมกินคู่กับน้ำยา น้ำพริก หรือจะนำไปตำคู่กับส้มตำก็แซ่บอีหลีเด้อ
โดยเกร็ดน่ารู้ของขนมจีนอีกอย่างหนึ่งคือ “ขนมจีน” มีชื่่อเรียกที่แตกต่างกันไปตามแต่ละภาค ได้แก่ ภาคกลาง ขนมจีน ภาคเหนือ ขนมเส้น ภาคอีสาน ข้าวปุ้น และภาคใต้ หนมจีน เป็นอาหารโปรดของทั้งสี่ภาคกันเลย
แม้เป็ดปักกิ่งจะมาจากกรุงปักกิ่ง “ขนมปักกิ่ง” ไม่ได้มาจากแเดนมังกรนะจ๊ะ แต่มาจากยูโรเปี้ยน สแนค ฟู้ด ที่ก็ไม่ได้มาจากยุโรปที่ไหน แต่เป็นบริษัทที่ตั้งแถวสมุทปราการนี่เอง
ขนมปักกิ่งเป็นขนมเวเฟอร์แบบแท่ง 2 รสชาติ ทั้งสอดใส้ครีมซองสีเหลือง และช็อกโกแลตซองแดง ที่เด็กไทยชื่นชอบ รสชาติหวานๆ มันๆ อารมณ์เดียวกัน กินได้ทุกวันหวานมันเหลือเฟือเอาเชื่อไหมมม